กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ
รหัสโครงการ 63-L1523-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 ตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 14,068.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมร พร้อมสีทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2562 31 มี.ค. 2563 14,068.00
รวมงบประมาณ 14,068.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 128 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กของจังหวัดตรังพบว่าเด็กตรังมีฟันผุสูงถึงร้อยละ 53.5 มีฟันผุ ซึ่งสาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่นให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ  การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก  โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมผุ เด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็ก ๆ สามารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาได้
โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดี และการส่งเสริม การป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ หากเด็กได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพช่องปาก การสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัย  จะทำให้เด็กและผู้ปกครองได้ตระหนักและเห็นว่าเรื่องของทันตสุขภาพ นั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแล ฝึกทักษะ ปรับเปลี่ยนปลูกฝังทัศนคติและพฤติกรรมที่ดี จะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กในชุมชนลดน้อยลง ซึ่งส่งผลทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นอีกด้วย
สถานการณ์โรคฟันผุ ม.๔ บ้านนาเมืองเพชร ปี ๒๕๖๑ พบว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๗ ปี มีฟันผุ จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๕ จากสภาพปัญหาดังกล่าวทางอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๔ เล็งเห็นถึงแนวโน้มการเกิดฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน/วัยเรียนรายใหม่เพิ่มขึ้นหากไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๔ ตำบลนาเมืองเพชร จึงได้จัดทำ “โครงการหนูน้อยยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ” เพื่อสนับสนุนให้เด็กก่อนวัยเรียน/วัยเรียนได้รับการดูแลและป้องกันโรคเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เด็กมีสุขภาพฟันที่ดีและแข็งแรง ๒.เพื่อให้ผู้ปกครองดูแลสุขภาพฟันของเด็กได้อย่างถูกวิธี ๓ เพื่อให้เด็กรู้จักรักษาความสะอาดภายในช่องปากและฟัน

1.เด็กก่อนวัยเรียน/วัยเรียนได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๙๐ 2.เด็กก่อนวัยเรียน/วัยเรียน มีการแปรงฟันที่ถูกวิธี ร้อยละ ๘๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 256 14,068.00 0 0.00
1 พ.ย. 62 - 31 มี.ค. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การดูแลสุขภาพในช่องปาก ทักษะการแปรงฟัน 128 8,968.00 -
1 พ.ย. 62 - 31 มี.ค. 63 กิจกรรมสรรหา “หนูน้อยยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ” 128 5,100.00 -

1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาและรวบรวมรายชื่อกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2.จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3.แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4.ประชาสัมพันธ์โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 5.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และสถานที่ 6.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กมีสุขภาพฟันที่ดีและแข็งแรง
๒. ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพฟันของเด็กได้อย่างถูกวิธี
๓. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดภายในช่องปากและฟัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2562 09:59 น.