กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่กลุ่มผู้สูบบุหรี่
รหัสโครงการ 63-L1523-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านเขาเพดาน
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 12,318.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธนบรรณ กล้าเวช
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 12,318.00
รวมงบประมาณ 12,318.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 63 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคถุงลมโป่งพอง จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในปี2560-2561 โรคที่เกิดมาจากการสูบบุหรี่ อันได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ พบว่ายังมีผู้ป่วยสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 25.3,17.9,16.6.14.1 และ 9.9 ตามลำดับ หากผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปอาจทำให้เกิดอาการทรุดลงและโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังแต่ยังคงสูบบุหรี่ จะทำให้การพยากรณ์ของโรคเลวลงและมีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับมาสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่หยุดสูบได้ถึง 3 เท่า
สถานการณ์การควบคุมยาสูบ จังหวัดตรัง พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ปี พ.ศ. 2554 , พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2560 เท่ากับ ร้อยละ 26.39,ร้อยละ 25.46 และร้อยละ 24.23 ตามลำดับ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) การดำเนินงานโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง เริ่มดำเนินงานโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 โดยค้นหาชักชวนให้ประชาชน อายุปี 15 ขึ้นไปที่สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการ ฯ และเข้าสู่กระบวนการบำบัด มีผลงานสะสมจากการดำเนินงานตามโครงการ ฯเมื่อปีงบประมาณ 2561 และผลการดำเนินงานตามโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชันข้อมูลสะสม ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 พบว่า อำเภอสิเกามีประชาชนที่สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2,071 คนคิดเป็นร้อยละ 96.42ประชาชนที่สูบบุหรี่และสามารถเลิกบุหรี่ จำนวน 1 คน ร้อยละ 0.05 จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 7 บ้านเขาเพดาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดและเลิกใช้ยาสูบ ซึ่งพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ เนื่องจากการทำงานแต่ละวันนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขมีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยที่สูบบุหรี่และครอบครัว ในชุมชน จึงเป็นโอกาสอันดีที่ให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยแนะนำ กระตุ้น ส่งเสริม และช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนที่สูบบุหรี่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มติดบุหรี่สามารถลด/เลิกบุหรี่ได้

1.กลุ่มผู้สูบบุหรี่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่อง การลด ละ เลิก บุหรี่ ร้อยละ 100
2.กลุ่มผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 เดือน ร้อยละ 20

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 126 12,318.00 0 0.00
1 พ.ย. 62 - 30 ก.ย. 63 ให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ สอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่ 63 9,168.00 -
1 พ.ย. 62 - 30 ก.ย. 63 ติดตามผลการเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน และประชุมผลสรุปการดำเนินงาน 63 3,150.00 -

กิจกรรมที่1 ให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ สอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่
1.ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ติดบุหรี่ ให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
2.อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ จำนวน 63 คนโดยมีรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือ การให้ความรู้โทษพิษภัยของบุหรี่ ,ให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสม 3. สอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่ แก่ผู้ที่สูบบุหรี่ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้ว ให้กลุ่มเป้าหมายกลับไปกดจุดฝ่าเท้าที่บ้านต่อเนื่อง กิจกรรมที่2 เจ้าหน้าที่จะติดตามผลการเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน และประชุมผลสรุปการดำเนินงานหลังจากกิจกรรมที่1 เป็นเวลา 3 เดือนและ 6 เดือน แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 63 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน หาแนวทางร่วมกันที่จะช่วยเหลือผู้ที่ยังไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ต่อไป ถอดบทเรียนหารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานในการขยายผลไปทำกับกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนที่ที่สูบบุหรี่ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2562 10:59 น.