กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับได้หมดเพื่อชีวิตที่สดชื่น
รหัสโครงการ 60-L5311-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำ รพ.สต.น้ำผุด
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 84,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชำนาญ สุดสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาสุขภาพอนามัยคือการที่ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม โดยนอกจากหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ ก็ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขที่ต้องมีบทบาทหน้าที่ในด้านการส่งเสริมป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพแล้ว ประชาชนต้องดูแลตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและภาคประชาสังคมต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนของตนเอง สามารถจัดการการดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและสังคม ให้เอื้อต่อการมีการมีสุขภาพที่ดีและเป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข จากการสำรวจพบว่าปัญหาที่สำคัญ เรียงตามลำดับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง หัวใจหลอดเลือดและหลอดเลือดสมองโดยพบโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุด และมีแนวโน้มสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยอีกกว่าร้อยละ60ที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์ได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยและระบบควบคุมโรคการพัฒนาระบบบริการเป้าหมายดำเนินการเน้นหนักในกลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ครอบคลุมประชากรกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา อัตราอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและยังพบว่าโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าโรคเบาหวาน และพบอัตราอุบัติการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง เป็นและยังพบว่า โรคหลอดเลือดสมอง มากกว่าโรคหัวใจขาดเลือด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมถูกต้อง

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมถูกต้อง มากกว่าร้อยละ90

2 2 อัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลง

อัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลงร้อยละ 10

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2 อัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

ติดตามกลุ่มเป้าหมาย 0.00 -
อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ 7,960.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชุมทีมงานอสม/ แกนนำเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน 2. เสนอแผนงานโครงการเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.น้ำผุดพิจารณา 3.ประสานงานโครงการและสถานที่เพื่อจัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายและประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมอบรมก่อนและหลังการอบรม 4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดังนี้ 4.1 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสมความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 4.2 การฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายการฝึกจิตคลายเครียด 4.3การควบคุมน้ำหนักและการคิดค่าพลังงานตามโครงการ 5.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ คู่มือแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน จำนวน ๒๔๐ คน มีความรู้ ความเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ถูกต้อง ร้อยละ ๙๐ ๒. อัตราการเกิดโรคเรื้อรัง รายใหม่ ลดลง ๑๐ %

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2560 15:55 น.