กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลท่ามิหรำ
รหัสโครงการ 63-L3355-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 65,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.589,100.05place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 พ.ย. 2562 30 ก.ย. 2563 65,650.00
รวมงบประมาณ 65,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
0.62
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
87.00
3 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไขเลือดออกใน พ.ศ.2562
14.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั้วโลก และมีการแพร่ระบาดในช่วง 10ปีที่ผ่านมา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและเข้ารับการรักษาพยาบาลมาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มวัย ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถือเป็นโรคประจำถิ่น โดยเฉพาะประเทศใยแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่ โดยมียุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคและพบว่ามีการระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน การระบาดมักจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม ของทุกปี แต่จะพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงเดือน มิถุนายน ถึงเดือน สิงหาคมของทุกปี   สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2562 มีผู้ป่วยทั้งหมด 96,369 ราย อัตราการป่วยต่อแสน 145.35 ตายจำนวน 104 ราย อัตราตายร้อยละ 0.16 สำหรับภาคใต้มีผู้ป่วยอยู่อันดับ 2 ของประเทศ   จังหวัดพัทลุง ข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่ 1 มกราคม 2562-30 กันยายน 2562 มีผู้ป่วยทั้งหมด 870 ราย อัตราป่วยร้อยละ 165.75 ไม่มีผู้ป่วยตาย จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยอยู่อันดับที่ 20 ของประเทศ   สำหรับตำบลท่ามิหรำ มีจำนวนผู้ป่วย 4 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปี พ.ศ. 2559 จำนวน 12 ราย คิอเป็นอัตราป่วย 204.46 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง  ปี พ.ศ.2560 มีผู้ป่วย 12 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 203.53 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2561 ีผู้ป่วยจำนน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 67.28 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2562 มีผู้ป่วยจำนน 14 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 254.55 จะเห็นว่าปี 2562 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น แต่ลักษณะการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะไม่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กัยหลายปัจจัย และจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการปี 2562 ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นไม่มากเมื่อเทีบลกับพื้นที่อื่น ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือด และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำปี 2563 ขึ้น โดยเน้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นประชาชนให้เกิดความตระหนัก และร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่ามิหรำต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

0.62 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(ร้อยละ)

87.00
3 บ้านที่พบลูกน้ำยุงลายมีจำนวนลดลง

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนไม่เกินร้อยละ 10

260.00
4 จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายลดลง

จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในหมุ่บ้าน ไม่เกินร้อยละ 10 จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัด มีค่าเป็น ศูนย์

260.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมการส่งเสริมป้องกันโรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 133 3,900.00 3 3,900.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อย สำรวจลูกน้้ำยุงลายในครัวเรือน 60 500.00 500.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อย อสม.และ จนท.ออกสำรวจลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ระหว่างหมู่บ้าน 70 0.00 0.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อย จนท.และผู้พ่น ออกพ่นหมอกควันใน ร.ร.ก่อนเปิดเทอมทั้ง 2 เทอม รวม 3 โรง 3 3,400.00 3,400.00
2 กิจกรรมการควบคุมโรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 61,750.00 1 61,750.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อยควบคุมโรคเมื่อเกิดโรคไข้เลือดออก 60 61,750.00 61,750.00

1.อสม.และเจ้าหน้าที่ ออกสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตามบ้านเรือน วัด โดยเป็นการสลับกันสำรวจระหว่างหมู่บ้าน 2.นำผลการสำรวจที่ได้มาสรุปผล หาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย คืนข้อมูลแก่ อสม. และประชาชนในวันประชุมประจำเดือน เพื่อให้ได้รับทราบว่าแต่ละหมู่บ้านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอยู่ระดับใด เพื่อได้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์อย่างต่อเนื่อง 3.หมู่บ้านที่มีดัชนีลูกน้ำยุงลายต่ำและไม่เกิดโรคไข้เลือดออก แนะนำวธีการดำเนินงานในหมู่บ้านของตนเองให้แก่ อสม.หมู่อื่น ๆ ได้นำไปเป็นแนวทางต่อไป 4.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียนในโรงเรียนทั้ง 3 โรง และขอความร่วมมือสำรวจลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 5.พ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดเทอมทั้ง 2 เทอม ทุกโรงเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ 6.กรณีเกิดโรคไข้เลือดออก เจ้าหน้าที่และผูพ่นหมอกควัน ออกพ่นในบ้าน / บริเวณบ้าน ผู้ป่วยและบ้านในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย พร้อมสอบสวนโรค และให้สุขศึกษาแก่ประชาชน 7.รายงานการสอบสวนโรคแก่ผู้บังคับบัญชา 8.ติดตามควบคุมโรคตามแนวทาง และเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้าน 9.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยไข้ลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2562 11:18 น.