โครงการ บริหารจัดการกองทุนและพัฒนาการบริหารจัดการกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการ บริหารจัดการกองทุนและพัฒนาการบริหารจัดการกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง ประจำปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2995-4-019 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง |
วันที่อนุมัติ | 31 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 74,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลคอเดช กะจิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.839,101.521place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้าง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ จากการที่ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ระดับตำบลบ้านกลางขึ้น เพื่อดำเนินงาน ด้านหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยมีคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ตำบล บ้านกลางเป็นผู้บริหารกองทุน เพื่อให้กองทุนมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการในกิจกรรมต่างๆ ดำเนินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีงบประมาณสนับสนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่นๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่สนับสนุนการดำเนินงานโดยตรง และเป็นค่าตอบแทนคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือคณะกรรมการอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมทั้งนี้งบประมาณประเภทที่ 4 สปสช.ได้กำหนดเกณฑ์การใช้จ่ายในประเภทนี้ไว้ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนในรอบปีงบประมาณนั้น ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลางจึงได้จัดทำ “โครงการบริหารจัดการกองทุน และพัฒนาการบริหารจัดการกองทุน” นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อบริหารงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง โดยการจัดประชุมคณะกรรมการ
อนุกรรมการหรือคณะทำงาน อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง โดยการจัดส่งเข้า
อบรม,ประชุม, ศึกษาดูงาน เป็นต้น
3. เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง มีครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการกองทุน
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 66 | 23,700.00 | 3 | 23,700.00 | 0.00 | |
31 ต.ค. 62 | ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 1 | 21 | 7,400.00 | ✔ | 7,400.00 | 0.00 | |
12 ธ.ค. 62 | ประชุมคณะทำงานกองทุนฯครั้งที่ 2 | 22 | 7,700.00 | ✔ | 7,700.00 | 0.00 | |
3 มี.ค. 63 | ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 3 | 23 | 8,600.00 | ✔ | 8,600.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 66 | 23,700.00 | 3 | 23,700.00 | 0.00 |
- คณะกรรมการ สปสช.ตำบลบ้านกลาง จัดให้มีการประชุมวางแผน เตรียมการตามโครงการ
- แต่งตั้งคณะทำงาน มอบหมายหน้าที่เพื่อดำเนินงานตามโครงการ
- ดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ สปสช.ทุกประการตามปีงบประมาณ
- ประเมินผลการดำเนินการงานและสรุปผลการดำเนินงานภาพรวมเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
1.คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง มีความรู้ความเข้าใจกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานได้ถูกต้อง และสามารถจัดทำแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการได้อย่างมีศักยภาพ
2.สามารถนำความรู้จากการศึกษาดูงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ
พื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นมาปรับใช้ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง มีครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการกองทุน
4.คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง และผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจการบริหารกองทุนไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2562 09:59 น.