กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ม.7 รวมใจพิชิตภัยความดันโลหิตสูง ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.7
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 7,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฉลอง แก้วศิริ นางสุนันต์ สุวรรณกาญจน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอนุชา ตันปิติกร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2562 30 ก.ย. 2563 7,500.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 7,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ทั้งนี้ มาตรฐาน หลักเกณฑ์ และรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและ ลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญให้มีการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564) ที่สอดคล้องภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชน ท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย เป็น 1 ในกลยุทธ์หลักทั้ง 6 กลยุทธ์ ทั้งนี้ที่ผ่านมาชมรม อสม.ในตำบลโคกม่วง ได้ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงมาโดยตลอด โดยเฉพาะการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้แก่ประชากร 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลโคกม่วง สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา ในปีงบประมาณ 2563 นี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงได้จัดทำแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ระดับเขต และระดับจังหวัด ซึ่งประเด็นที่มุ่งเน้น 1 ใน 6 ประเด็น คือ การพัฒนาศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้มีการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง หรือ บุคคลใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 7 วันต่อคน ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และสามารถใช้ผลจากการวัดความดันโลหิตดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคได้อีกด้วย จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งโชน ตำบล        โคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการอสม.รวมใจพิชิตภัยความดันโลหิตสูง ปี 2562 ขึ้น โดยจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อใช้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตบ้านทุ่งโชน หมู่ที่ 7 ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รวมทั้งใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพฤกษ์ และโรคอื่นๆ ในพื้นที่ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น และค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 90)

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับการเฝ้าระวังความดันโลหิตที่บ้าน (ร้อยละ 20)

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านตามแนวทางที่กำหนด

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ร้อยละ 50)

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน และการแปลผล

ร้อยละของอสม.ที่ผ่านการฟื้นฟูความรู้แล้วสามารถตอบแบบทดสอบหลังการอบรมได้ถูกต้อง (ร้อยละ 80)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมสมาชิก ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 เพื่อกำหนดแนวทาง/โครงการในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
  2. ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง เพื่อขอคำปรึกษาในการจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต และจัดทำคู่มือบันทึกระดับความดันโลหิต และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวของกลุ่มเป้าหมาย
  3. กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำทะเบียน และดูแลเครื่องมือ อุปกรณ์ของหมู่บ้านต่อเนื่องจากทะเบียนเดิมในปี 2561
  4. ประสานงานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง เพื่อจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) การแปลผล และทักษะการสอนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนแก่ อสม.
  5. ออกให้บริการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  6. ตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 7 วัน/คน ในกลุ่มเสี่ยงสูงตามรายชื่อจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง และติดตามวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ รวมทั้งให้คำแนะนำ
  7. บริการตรวจวัดความดันโลหิตให้แก่กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการทราบค่าความดันโลหิต เพื่อควบคุมโรคของตนเองหรือก่อนไปรับยา
  8. ส่งผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
  9. สรุปโครงการรายงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกม่วง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองความดันโลหิตสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิต การติดตามหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความตระหนักในการควบคุมระดับความดันโลหิต
  3. อสม.มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และสามารถให้คำแนะนำเพื่อลดเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมายได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2562 11:44 น.