กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการชาวหนองบัวร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและภัยพิบัติสู่ตำบลควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืนตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวหนองบัวร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและภัยพิบัติสู่ตำบลควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืนตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 51,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสามากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.978,99.731place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.พ. 2560 30 ก.ย. 2560 51,150.00
รวมงบประมาณ 51,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทยปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่ยังพบอัตราป่วยและป่วยตายอย่างต่อเนื่อง จากการายงานโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขพบว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 29 ธันวาคม 2559 ประเทศมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 62,405 ราย อัตราป่วย 95.38 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 60 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 จังหวัดตรังเป็นลำดับที่ 19 ของประเทศ จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ของจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 29 ธันวาคม 2559 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 770 ราย อัตราป่วย 120.16 ต่อแสนประชากร มีรายงายเสียชีวิต จำนวน 2 คน อัตราป่วยตาย ร้อยละ0.26 โดยอำเภอรัษฎาซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง มีได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 6.50 ต่อแสนประชากร และยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ตำบลหนองบัวพบผู้สงสัยไข้เลือดออกในปี 2559 จำนวน 15 ราย ซึ่งหากยังขาดการควบคุมป้องกันที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ไข้เลือดออกแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วได้ นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่ออื่นๆ ที่มีการระบาดและต้องติดตามให้ทันตามสถานการณ์ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง ซึ่งยังคงเป็นโรคประจำถิ่นที่พบสูงสุดในปี 2559 และโรคติดต่อที่ยังพบในพื้นที่ คือ โรคปอดบวม โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก โรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคล้วนต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างจริงจัง เป็นหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาดังกล่าว และการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อตามนโยบายอำเภอควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการชาวหนองบัวร่วมใจป้องกันภัยโรคติดต่อและภัยพิบัติ สู่ตำบลควบคุมโรคติดต่อเข้มแข็งแบบยั่งยืน เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่และโรคติดต่อตามนโยบาย และให้ประชาชนมีความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ รวมทั้งมีทัศคติที่ถูกต้องและตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่และโรคติดต่อตามนโยบาย (อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร)

 

2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

 

3 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,150.00 0 0.00
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ทีม SRRT และ อสม. ตำบลหนองบัว และปฏิบัติการพ่นหมอกควัน 0 0.00 -
กิจกรรมรณรงค์ 0 12,700.00 -
กิจกรรมประกวดหมู่บ้าน/โรงเรียนควบคุมโรคติดต่อและประเมินวัดปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 19,450.00 -
  1. ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนจัดทำโครงการ
  2. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางระบาดวิทยา มีการแจ้งข่าวการระบาดของโรคและเหตุก่รณ์ผิดปกติ สรุปสถานการณ์ในการประชุม อสม. และประชุมหมู่บ้านทุกเดือน
  3. เตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค
  4. อบรมให้ความรู้แก่ทีม SRRT และอสม.ตำบลหนองบัว
  5. จัดประชุมทีม SRRT ตำบลหนองบัวและนำเสนอเหตุการณ์ในชุมชนโดยเครือข่าย 3 เดือน/ครั้ง
  6. จัดประชุมแกนนำหมู่บ้านเรื่องดำเนินการหมู่บ้านควบคุมโรคติดต่อ
  7. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ในเวทีประชาคมและหอกระจ่ายข่าวทุกหมู่บ้าน
  8. สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน (HI) และทำลายแหล่งเพาะพันธ์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดย อสม.และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 9.สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน (CI) และทำลายแหล่งเพาะพันธ์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดย อสม.และแกนนำนักเรียน
  9. จัดสัปดาห์รณรงค์บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปี 2560 ร่วมกัน 2 ครั้ง ปฏิบัติการพ่นหมอกควัน ตามโรงเรียน วัด ศพด. โดยพ่น 2 ครั้งก่อนเปิดเทอม แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
  10. ปฏิบัติการพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก และครัวเรือนในระยะ 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก
  11. ให้สุขศึกษาทุกหลังคาเรือนและทุกหน่วยงาน
  12. จัดประกวดหมู่บ้านและโรงเรียนควบคุมโรคติดต่อ
  13. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคและโรคเรื้อน
  14. จัดประกวอ อสม./อสม.วัยใส/อสม.สูงวัย
  15. จัดประกวดนวัตกรรมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
  16. ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดในกรณีผู้ป่วยหรือผู้สงสัยป่วยด้วยโรคติดต่อ รวมทั้งป้องกันการระบาดในโรงเรียน วัด และศพด.
  17. สรุป/ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆซึ่งเป็นปัญหาสำคัญตามยโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นปัญหาในพื้นที่
  2. ประชาชนและชุมชนมีทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื้นๆ
  3. ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื้นๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2560 11:22 น.