กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยงมัส


“ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค ”

ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสาวสุคนธ์ จินนะมงคล

ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค

ที่อยู่ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 63-L8014-3-2 เลขที่ข้อตกลง 04/63

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยงมัส ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 63-L8014-3-2 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 ธันวาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,425.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยงมัส เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ปัญหาทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีสาเหตุมาจากตัวเด็กเองและสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองและครูจึงต้องรู้เท่าทันภูมิหลังด้านสุขภาพของเด็ก และมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือ กรณีที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะการระมัดระวังการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หรือการเตรียมการซักซ้อมก่อนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน และเกิดความปลอดภัยแก่เด็กมากที่สุดอาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง“ทั้งชีวิตของเด็ก” ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ สาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายใน และจากปัจจัยภายนอก ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1.สาเหตุจากปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติในตัวเด็กเอง โดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายของเด็กเอง

  • โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้สัตว์ปีก ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในบางกรณี

2.สาเหตุจากปัจจัยภายนอกสำหรับปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่ มักเกิดจากเหตุดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านการสัมผัส (Cross-infection)

  • การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกิน ไปจนถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก

  • เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

  • อุบัติเหตุประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต

  • การได้รับสารพิษ

  • การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ

    ดังนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว นอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้านอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กปฐมวัย ปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิต อาทิเช่น เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หรืออาจมีร่างกายแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย การช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก และที่สำคัญคือครอบครัวของเด็กจะต้องเข้ามามีบทบาท และมีส่วนสำคัญในการดูแลให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดี มีที่อยู่ ที่หลับนอนที่ปลอดภัยแต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัว ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น นอกจากจะมีปัญหาสุขภาพแล้วพวกเขาเหล่านั้นยังอาจถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลาน เป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุด และไม่อาจได้รับการแก้ไขได้ จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น

    ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัสจึงต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพของเด็กรวมทั้งการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก อย่างเข้มข้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค ประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ ด้วยตนเอง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี
  2. เพื่อลดอัตราการป่วย จากโรคติดต่อจากการติดเชื้อ จากคนสู่คนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  3. เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ โดยการเล่นฟุตบอล และกีฬาตามความเหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็ก
  4. เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้เด็กมีความรักในการดูแล สุขภาพโดยการจัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการและมาตราการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. กิจกรรมเด็กปฐมวัยเล่นกีฬา พาเพลินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และ ผู้ประกอบอาหาร มีความเข้าใจหลักโภชนาการของเด็กปฐมวัย และสุขอนามัยที่ดี

  2. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็ก

  3. เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ โดยการเล่นฟุตบอล และกีฬาตามความเหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็ก

  4. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลตันหยงมัสได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยทุกคน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการและมาตราการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

วันที่ 27 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็ก

  2. กิจกรรมกิจกรรมตรวจและคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยอย่างเข้ม เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูผู้ดูแลเด็ก เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ประกอบอาหาร มีความสนใจและเข้าใจปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การดูแลสุขภาพพัฒนาการของเด็กเล็ก พร้อมทั้งมีความเห็นพ้องกันว่าเป็นการอบรมที่เป็นประโยชน์และสมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  1. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 900 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 29 คน เป็นเงิน 1,450 บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 29 คน เป็นเงิน 725 บาท

  4. ค่าจัดทำป้ายไวนิล 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท

  5. ค่าจัดซื้อสมุดบันทึก จำนวน 29 เล่ม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 435 บาท

  6. ค่าจัดซื้อปากกา จำนวน 29 ด้าม ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 290 บาท

 

33 0

2. กิจกรรมเด็กปฐมวัยเล่นกีฬา พาเพลินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

วันที่ 27 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กิจกรรม “เด็กปฐมวัยเล่นกีฬา พาเพลิน” พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการเด็ก

  2. กิจกรรม "ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย" เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ โดยการเล่นฟุตบอลและกีฬาตามความเหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กเล็กทุกคนได้เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายอย่าง่ายโดยการเล่นฟุตบอลและกีฬาตามความหมาะสมกับช่วงวัย

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  1. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 900 บาท

  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 29 คน เป็นเงิน 725 บาท

  3. ค่าจัดซื้อประตูโกลฟุตบอลเด็ก จำนวน 2 อัน ๆ ละ 2,000 เป็นเงิน 4,000 บาท

  4. ค่าจัดซื้อลูกฟุตบอล 1 ลูก เป็นเงิน 500 บาท

  5. ค่าจัดซื้อแป้นบาสเกตบอลเด็ก จำนวน 1 อัน เป็นเงิน 3,900 บาท

  6. ค่าจัดซื้อฮูล่าฮูปเด็ก จำนวน 4 อัน เป็นเงิน 1,600 บาท

 

33 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี
ตัวชี้วัด : ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างน้อย 80 % ได้รับความรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัย และสามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย ของเด็กปฐมวัย ได้อย่างถูกวิธี และสามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆครบถ้วนทุกขั้นตอน
0.00

 

2 เพื่อลดอัตราการป่วย จากโรคติดต่อจากการติดเชื้อ จากคนสู่คนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตัวชี้วัด : - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราการป่วยของเด็กที่เป็นโรค มือ เท้า ปากลดลง เป็นจำนวนอย่างน้อย 95 % - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราการป่วยของเด็กที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ ลดลงเป็นจำนวนอย่างน้อย 90 %
0.00

 

3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ โดยการเล่นฟุตบอล และกีฬาตามความเหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็ก
ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อย 80 % รู้จักการออกกำลังกายเพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการตามวัย
0.00

 

4 เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้เด็กมีความรักในการดูแล สุขภาพโดยการจัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี
ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศูนย์ฯได้รับการตรวจสุขภาพอนามัยทุกคน
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยที่ดี (2) เพื่อลดอัตราการป่วย จากโรคติดต่อจากการติดเชื้อ จากคนสู่คนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (3) เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ โดยการเล่นฟุตบอล และกีฬาตามความเหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็ก (4) เพื่อส่งเสริมและจุดประกายให้เด็กมีความรักในการดูแล สุขภาพโดยการจัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการและมาตราการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) กิจกรรมเด็กปฐมวัยเล่นกีฬา พาเพลินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี นำชีวีปลอดโรค จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 63-L8014-3-2

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวสุคนธ์ จินนะมงคล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด