กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย SMART KIDS
รหัสโครงการ 63 – L3069 – 10(1)-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย
วันที่อนุมัติ 9 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 55,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน  สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก ของกรมอนามัย สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ ปี 2561       จังหวัดปัตตานียังมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญและส่งผลกระทบ โดยพบว่าปัญหามารดาและทารกเสียชีวิตยังมีอัตราที่สูงกว่าในพื้นที่อื่นๆ และสูงกว่าค่าเป้าหมายต่างประเทศ  ปัญหาเด็กมี IQ ต่ำ ข้อมูลการสำรวจ IQ เฉลี่ยของเด็กในจังหวัดปัตตานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 88.32 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในประเทศ
ด้านโภชนาการเด็ก 0-5 ปี อันเนื่องมาจาก ด้านโภชนาการ ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การกระจายอาหาร และความสามารถในการเข้าถึงอาหาร ส่งผลให้เด็กมีความเจริญที่ไม่สมส่วน โดยพบ เด็กเตี้ยร้อยละ 17.50 เด็กผอมร้อยละ 7.16 เนื่องจากขาดสารอาหารเรื้อรัง  ปัญหาทันตสุขภาพ จังหวัดปัตตานีได้มีการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ในกลุ่มที่เป็นตัวแทนของเด็ก 0-5 ปี คือ เด็กอายุ 18 เดือน และเด็ก 3 ปี ซึ่งมีแนวโน้มปราศจากโรคฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดแต่ยังต่ำอยู่ เมื่อเทียบกับระดับประเทศ (เด็ก 3 ขวบ ปราศจากฟันผุร้อยละ 50.6)  ปัญหากลุ่มโรคติดต่อในเด็กที่เกิดจากไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ เช่น ไอกรน คอตีบ เป็นต้น สาเหตุของผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของวัคซีน ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ไม่ตระหนัก และความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องกับความเชื่อที่ผิดๆ เช่น วัคซีนไม่ฮาลาล ฉีดวัคซีนแล้วทำให้เด็กเป็นไข้ เป็นต้น ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 75.72 ได้รับวัคซีน MMR1 1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 80.20 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 67.78 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 71.22 วัคซีน JE2 ร้อยละ 73.39 วัคซีน JE3 ร้อยละ 60.47 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 72.28 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 62.76 ข้อมูล HDC จากสำนักงานสาธารณสุขปัตตานี ปีงบประมาณ2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็ก Smart kids ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัยและฟันไม่ผุ
  1. เด็ก Smart kids ผ่าน ครบทั้ง 4 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในปีงบประมาณ 2563
1.00
2 2 เพื่ออบรมผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแล เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids
  1. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่อง ความเข้าใจ ในการดูแลเด็ก Smart  kids ร้อยละ 60
1.00
3 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแล เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids ครบทั้ง 4 ด้าน
  1. แกนนำอสม.ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและตระหนักในการดูแล เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids ร้อยละ 60
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 245 55,000.00 0 0.00
9 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 1 อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. จำนวน 65 คน ให้สามารถปฏิบัติได้จริง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ - ด้านโภชนาการ - ด้านวัคซีน - ฟัน - พัฒนาการ 65 10,820.00 -
9 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 2. อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กและสาธิต เมนูอาหาร กับ ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายSmart kids 4 ช่วงอายุทีมีภาวะทุพโภชนาการ 80 19,590.00 -
9 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 3.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องวัคซีน (ในรายที่ปฏิเสธ) จำนวน 70 คน 70 11,600.00 -
9 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 4.กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 4,500.00 -
9 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 5.อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน 30 8,490.00 -

กิจกรรมที่ 1. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน กิจกรรมที่ 2. ติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อเสนอโครงการในการขออนุมัติงบประมาณ กิจกรรมที่ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน อสม. กิจกรรมที่ 4. จัดเตรียมป้าย วัสดุอุปกรณ์ โมเดลอาการ  อุปกรณ์ตรวจพัฒนาการ แปรงสีฟัน ในการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 5 พัฒนาศักยภาพแกนนำอสม. เรื่อง โภชนาการ วัคซีน ฟัน พัฒนาการ ให้สามารถปฏิบัติได้จริง กิจกรรมที่ 6. อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ โดยใช้โมเดลอาหาร ให้กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย Smart kids 4 ช่วงอายุทีมีภาวะทุพโภชนาการ ได้แก่ กลุ่มอายุ 0-6 เดือน , กลุ่มอายุ 6เดือน – 1 ปี , กลุ่มเป้าหมาย 1- 3 ปีและ กลุ่มเป้าหมาย 4- 5 ปี กิจกรรมที่ 7 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อสร้างความตระนักในเรื่องวัคซีน (ในรายที่ปฏิเสธ) กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ กิจกรรมที่ 9.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุแก่ผู้ปกครองและสาธิตการแปรฟันที่ถูกวิธีในเด็ก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smatr kids มีสุขภาพดีรูปร่างดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย วัคซีนครบ ฟันดี
  2. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ การรับวัคซีน โภชนาการและการดูแลสุขภาพฟัน
  3. แกนนำ อสม.Smart kids มีความรู้ในการในเรื่องการดูแลเด็กกลุ่มเป้าหมาย Smart kids
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562 09:30 น.