โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดเชิงรุก ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดเชิงรุก ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 2563-L7275-01-001 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ โรงพยาบาลพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2563 |
งบประมาณ | 32,615.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุรภรณ์ เกตุแสง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฝากครรภ์เป็นมาตรการหนึ่งในการบริบาลและเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ไปรับบริการดูแลครรภ์จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างน้อย 5 ครั้ง และควรไปฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายของมารดาและทารกในภาพรวม รวมทั้งมารดาได้รับการตระเตรียมในการเลี้ยงดูทารกที่จะเกิดมา ย่อมส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ไทยในอนาคต จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้ไปฝากครรภ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนจากครอบครัว ในเขตพื้นที่ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปีพ.ศ.2561พบว่าที่ผ่านมามีหญิงตั้งครรภ์ 38 คน ได้รับการติดตามเยี่ยมดูแลครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพียง 6 คน (ร้อยละ 15.79 )ได้รับการติดตามเยี่ยมดูแลครบ 5 ครั้ง 18 คน(ร้อยละ 47.37) คน มีการฝากคครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 16 คน(42.11) ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการ หญิงวัยเจริญพันธุ์เองยังไม่ให้ความสำคัญของดูแลสุขภาพในช่วงระยะ แรกของการตั้งครรภ์ และ การไม่มีข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนเพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ได้เข้าถึงบริการก็เป็นปัญหาหนึ่ง และหลังคลอดพบว่าหญิงหลังคลอดไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาหลักที่พบส่วนใหญ่เกิดจากมีน้ำนมไม่เพียงพอ แม่ไปทำงาน จากสถิติข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ปีพ.ศ.2561 พบว่าหญิงหลังคลอดได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนเพียงร้อยละ 50ความคลอบคุมวัคซีน และการติดตามประเมินพัฒนาการยังไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ จากปัญหาดังกล่าวศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดเชิงรุกศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปีงบประมาณ 2563 เพื่อสร้างองค์ความรู้ จัดกิจกรรมเยี่ยมดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์แต่เนิ่นและอย่างต่อเนื่องที่หน่วยบริการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอดจนการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ซึ่งย่อมเป็นผลดีแก่สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกที่จะเกิดมา รวมถึงต่อความมั่นคง มั่งคั่งของประเทศในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊บ ฝากปั๊ป) หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ครั้งแรกตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ60 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ถูกต้องร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 60 |
0.00 | |
4 | เพื่อให้หญิงหลังคลอด ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง หญิงหลังคลอด ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามเยี่ยมร้อยละ 90 |
0.00 | |
5 | เพื่อส่งเสริมให้หญิงหลังคลอดได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน แม่หลังคลอดได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนร้อยละ60 |
0.00 | |
6 | เพื่อส่งเสริมให้ เด็กมีพัฒนาการสมวัย เด็กแรกเกิด - 1ปีมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ90 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 350 | 32,615.00 | 3 | 10,839.00 | |
1 - 30 พ.ย. 62 | ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน | 70 | 1,750.00 | - | ||
1 - 30 พ.ย. 62 | ประชาสัมพันธ์โครงการ | 0 | 900.00 | - | ||
1 พ.ย. 62 - 31 ส.ค. 63 | ค้นหา เยี่ยมดูแล เฝ้าระวังหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีการตั้งครรภ์ | 50 | 675.00 | - | ||
1 - 30 พ.ย. 62 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ | 80 | 6,400.00 | - | ||
1 พ.ย. 62 - 31 ส.ค. 63 | ติดตามเยี่ยมหลังคลอด | 50 | 10,000.00 | ✔ | 1,959.00 | |
1 พ.ย. 62 - 31 ส.ค. 63 | ติดตามประเมินพัฒนาการตามวัย | 50 | 3,390.00 | ✔ | 3,380.00 | |
1 ม.ค. 63 - 29 ก.พ. 63 | จัดมุมสร้างเสริมพัฒนาการ | 50 | 9,000.00 | ✔ | 5,500.00 | |
1 - 31 ส.ค. 63 | สรุปโครงการ | 0 | 500.00 | - |
- กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไว้ก่อน 12 สัปดาห์ มีวิธีดำเนินการดังนี้
- สร้างความเข้าใจผลดีการฝากครรภ์เร็วผ่านเสียงตามสายของชุมชนและป้ายประชาสัมพันธ์
- เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการออกสำรวจทุกเดือน ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ (พร้อมตรวจการตั้งครรภ์ด้วยแผ่นทดสอบปัสสาวะ) เพื่อจัดทำทะเบียน ประเมินอายุครรภ์ ให้คำแนะนำและส่งตัวไปฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- จัดทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามีเพื่อติดตามภาวะการตั้งครรภ์2. จัดอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้
- การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์
- การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์
- ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
- ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์
2. การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
- เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม
- แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู และหากจำเป็นขออนุญาตหญิงตั้งครรภ์ประสานกับโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
- การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้
- กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไป โดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา (ธาตุเหล็ก ไอโอดีนและโฟลิก) การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล
- กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และขออนุญาตประสานข้อมูลกับโรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล
- กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และแผ่นตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ พร้อมบันทึกผล ติดต่อปรึกษาหารือกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม
- กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมอย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา
- ติดตามประเมินพัฒนาการเด็ก และส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ดูแลมีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการ
- สรุปผลการดำเนินงาน
- หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
- หญิงตั้งครรภ์ได้เข้าถึงบริการและมีการฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์
- หญิงหลังคลอดสามารถดูแลสุขภาพได้ถูกต้องเหมาะสม
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวมีจำนวนเพิ่มขึ้น
- เด็กอายุแรกเกิด – 1ปี มีพัฒนาการสมวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562 09:58 น.