กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบาลอ ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L8413-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดียานา ประจงไสย
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระบบท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือกองทุน อปท. เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและภาคีภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคม ที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง จากการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา พบว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพกองทุนและคณะกรรมการกองทุน โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิต ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมกันบริหารจัดการกองทุน และเพื่อนำวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในงานของกองทุนฯและจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงในการประชุมและค่าอาหารและอาหารว่างและเครื่องดื่ม ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด จึงมีความประสงค์จัดโครงการบริการจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาลอเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสุนนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง

 

0.00
2 เพื่อให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

 

0.00
3 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบาลอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,400.00 0 0.00
14 พ.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่กองทุน ครั้งที่ 1 0 10,400.00 -
3 มี.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 2 0 7,400.00 -
30 มิ.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 3 0 6,600.00 -

1.ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม - ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลต้นไทร จำนวน ๑7 คน อย่างน้อยรวม 4 ครั้งต่อปี และบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง - จัดประชุมอนุกรรมการ/คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบาลอ จำนวน 40 คน เข้าร่วมประชุม รวม 5 ครั้งต่อปี และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เบิกเงินค่าตอบแทนการประชุมเพื่อจ่ายให้กับคณะกรรมการกองทุนที่มาประชุมและคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลต้นไทร ข้อ 31 ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุน และคณะอนุกรรมการ ที่เข้าร่วมประชุมมีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทน 400 บาทต่อ 1 ครั้ง คณะ  อนุกรรมการฯ ได้รับค่าตอบแทน 300 บาทต่อ 1 ครั้ง อนุกรรมการ LTC 200 บาทต่อ 1 ครั้ง - เบิกเงินค่าเดินทางไปราชการตามระเบียบของทางราชการฯ ตามที่จ่ายจริง - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสุนนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง
๒. ทำให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
๓. ทำให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบาลอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2562 12:09 น.