กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมหลักสูตร “วิชชาลัยบานไม่รู้โรย” วัดคงคาเลียบ
รหัสโครงการ 60-L5209-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูอายุวัดคงคาเลียบ
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 97,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายผล พงศาการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววารีญา บิลตาลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปรากฏการณ์ใหม่ในศตวรรษที่ ๒๑ ของประเทศไทยคือการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และในปี ๒๕๖๕ คาดว่าผู้สูงอายุจะมีจำนวน๑ ใน ๕ ของประชากร จากสภาพการณ์ดังกล่าวคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.)จัดทำแผนผู้สูงอายุ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๔ –๒๕๖๔) ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญ ๕ ยุทธศาสตร์ คือยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของประชากรผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติและพัฒนาบุคคลากรด้านผู้สูงอายุและยุทธศาสตร์การประมวลพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามประเมินผล ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ๓ ยุทธศาสตร์หลัก คือ ยุทธศาสตร์การสนับสนุน ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการคัดกรอง (Geriatric syndromes) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุรภาพเชื่อมโยงจากสถานบริการสาธารณสุขสู่ชุมชนและยุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมของสถานพยาบาล ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลมีเป้าหมายการสาธารณสุขในห้วงเวลา ๑๐ ปี (พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๘) ว่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า ๗๒ ปีและในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญคือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวโดยการบูรณาการทุกกลุ่มวัยในตำบลต้นแบบ เพื่อให้ประชากรกลุ่มผู้สงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นผู้สูงวัยที่สูงค่า พึ่งพาตนเองได้ (Aging Self Care) ในส่วนจังหวัดสงขลาในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ประกาศนโยบาย ๑๕ วาระจังหวัดสงขลา และในวาระที่ ๘ วาระเรื่อง “สงขลาปันสุข ฐานรากเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำ แบ่งปันความสุข”มีแนวทางด้านการดูแล แก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้พิการ เด็กกำพร้า ผู้ป่วยติดเตียงในเชิงบูรณาการเป็นระบบต่อเนื่องตามความจำเป็นที่แท้จริงมากกว่าสังคมสงเคราะห์หรือการช่วยเหลือเฉพาะหน้า เทศบาลตำบลท่าช้างซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเทศบาลตำบลท่าช้างได้กำหนดนโยบายให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสเป็นนโยบายหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งนี้ การดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว เทศบาลตำบลท่าช้างได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง ที่กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มวัยผู้สูงอายุไว้คือการเป็นศูนย์เรียนรู้การดำเนินงานตำบลต้นแบบผู้สูงอายุระยะยาว ทั้งนี้ในการดำเนินงานให้บรรลุตัวชี้วัด พันธกิจและวิสัยทัศน์ดังกล่าวนั้น การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้านสาธารณสุขในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้นั้นต้องส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุที่พึ่งพิงตนเองได้มีสุขภาพกาย และจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นผู้สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง (Aging Seif Care) สามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมอย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่พึ่งพิงตนเองได้มีมีสุขภาพกาย และจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นผู้สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง (Aging Seif Care) สามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมอย่างปกติสุข

2.กลุ่มผู้สูงอายุที่พึ่งพิงตนเองได้มีสุขภาพกายและจิตที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวชุมชนสังคมอย่างปกติสุข

2 2.เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่าย การพัฒนาศักยภาพและเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน

1.เป็นศูนย์กลางในชุมชนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้านสาธารณสุขและด้านสังคมเชิงรุกในชุมชนให้ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนอย่างมีความสุข

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการฯ เสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง 2.ดำเนินการฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนดตามหลักสูตร“วิชชาลัยบานไม่รู้โรย” วัดคงคาเลียบ 3. ดำเนินการประเมินผลก่อนและหลังการฝึกอบรมตามหลักสูตร “วิชชาลัยบานไม่รู้โรย” วัดคงคาเลียบ 4.รวบรวมรายงานผลการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงาน 5. รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพทราบ หลังจากเสร็จโครงการ 1 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เป็นศูนย์กลางในชุมชนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายระยะยาวด้านสาธารณสุขและด้านสังคม เชิงรุกในชุมชนให้ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนอย่าง มีความสุข
  2. กลุ่มผู้สูงอายุที่พึ่งพิงตนเองได้มีสุขภาพกาย และจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นผู้สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง (Aging Seif Care) เป็นต้นแบบในการสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคม อย่างปกติสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2560 14:19 น.