กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ การปลูกพืชสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก(พระครูวีระเขมคุณ อุปถัมภ์) วัดปลักคล้า ต.โคกม่วง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 38,204.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พท.มานพ ประทุมทอง ผอ.มูลนิธิสถาบันแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน และ นศ.พท.กนิดา พรหมจันทร์ นักศึกษาแพทย์แผนไทย รุ่นที่ 2
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2562 30 ก.ย. 2563 38,204.00
รวมงบประมาณ 38,204.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น มีความรู้ การปลูกพืชสมุนไพร ประโยชน์สรรพคุณสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้านและแพทย์ทางเลือกมากขึ้น

1) ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้

0.00
2 2) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่น

2) ร้อยละ50ของครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีการปลูกและใช้สมุนไพร อย่างน้อย 2 ชนิด
3) มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

0.00
3 3) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เพื่อฟ้องกันลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมองรายใหม่ในระยะยาวได้

4) ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ ประกอบกับความจำเป็นของประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุในอีก 5 ปี ข้างหน้า ซึ่งจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ผู้สูงอายุประเทศไทย มีประมาณ ๒๐ ล้านคน เหตุผลดังกล่าวมูลนิธิสถาบันแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านภาคใต้ วัดโคกสมานคุณ พระอารามหลวง อ.หาดใหญ่ ร่วมกับพระครูวีระเขมคุณ เจ้าอาวาส วัดปลักคล้า ได้มีการพัฒนาแพทย์แผนไทยแพทย์ทางเลือกดูแลพระสงฆ์ นักบวช ผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไป” เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก หมอพื้นบ้าน และสร้างบุคคลากรด้านการแพทย์ฯ ใช้สนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ กลุ่ม อาการโรคไร้เชื้อเรื้อรัง ( NCDs) ตามหลักความรู้และคัมภีร์การแพทย์แผนไทย ฯลฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในครัวเรือน ในการรักษาโรคเบื้องต้น
2) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรและสามารถถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ 3) รณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนปลูกสมุนไพรใช้ในท้องถิ่นอย่างน้อยครัวเรือนละ 2 ชนิด 4) มีสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง 5) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เพื่อฟ้องกันลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมองรายใหม่ในระยะยาวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2562 11:08 น.