โครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองโรควัณโรคเชิงรุกในชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ปี2563
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองโรควัณโรคเชิงรุกในชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ปี2563 |
รหัสโครงการ | 2563-L7572-01-013 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ โรงพยาบาลพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2562 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2563 |
งบประมาณ | 17,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเรณู กาฬสิงห์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 350 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภทประมาณ ๙๒,๓๐๐ คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ๔๔,๔๗๕ คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ ๑๒,๐๘๙ ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สถานการณ์วัณโรคใน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา จำนวน ๔๐๖ ราย จำนวนผู้ป่วย TB/HIV จำนวน ๕๓ ราย ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน จำนวน ๓ ราย ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ได้รับการตรวจ DST ร้อยละ ๖๐.๓๔ มีอัตราการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ร้อยละ ๘๗.๕๐ อัตราตาย ร้อยละ ๘.๖๒ และอัตราการขาดยา ร้อยละ ๒.๕๙ ปัจจัยสำคัญที่เป็นปัญหาของจังหวัดพัทลุง คือ ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตระหว่างการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ติดเชื้อ HIV สำหรับในพื้นที่เขตศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงจำนวน ๒๕๑ คน พบเป็นวัณโรคจำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๙๙ ซึ่งเข้าส่วนกระบวนการรักษาทั้งหมด จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ โรงพยาบาลพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองโรควัณโรคเชิงรุกในชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ปี ๒๕๖๓ขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย จึงต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันวัณโรค ของทุกภาคส่วนเพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย อีกทั้งป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้แกนนำครอบครัวมีความรู้เรื่องวัณโรค แนวทางการตรวจคัดกรองและแนวทางรักษาวัณโรค แกนนำครอบครัวไปได้รับความรู้เรื่องวัณโรค แนว ทางการตรวจคัดกรองและแนวทางรักษาวัณโรคร้อยละ ๙๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรคด้วยแบบคัดกรองและเอ็กซเรย์ ร้อยละ๗๐ |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยติดเชื้อได้รับการติดตามดูแลและส่งต่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยติดเชื้อได้รับการติดตาม ส่งต่อและรักษา ร้อยละ ๑๐๐ |
0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการ มอบหมายภาระหน้าที่ ทบทวนวิธีปฏิบัติ 2. ประชุมชี้แจงอสม.และแกนนำครอบครัว
ขั้นดำเนินการ
1. จัดทำเอกสาร แผ่นพับ คู่มือความรู้ต่าง ๆ
2. ให้ความรู้เรื่องวัณโรค แนวทางการตรวจคัดกรองและแนวทางรักษาวัณโรค แก่แกนนำครอบครัวตรวจคัดกรองวัณโรคโดยใช้แบบสอบถาม และเอ็กซเรย์
3. ให้คำแนะนำ ติดตามอาการและส่งต่อ
ขั้นสรุปและประเมินผล 1. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ/ความเรื่องเรื่องวัณโรค
- ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรค
- การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยติดเชื้อได้รับการติดตามดูแลและส่งต่ออย่างถูกต้องและเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2562 10:53 น.