โครงการป้องกันโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง โดยใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง โดยใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก |
รหัสโครงการ | 2563-L7572-02-002 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองการศึกษา เทศบาลเมืองพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2563 |
งบประมาณ | 415,168.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววีร์ณัฏฐา สุวรรณเทพ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 1336 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้มีรายงานการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง พบว่าเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 แห่งมีค่าเฉลี่ยโรคฟันผุร้อยละ 25.06 เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาในโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยโรคฟันผุร้อยละ 26.23 การไม่ได้รับการการส่งเสริมป้องกันฟันผุอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น จะส่งผลให้โรคฟันผุเกิดการลุกลามทั้งขนาดเล็กที่ยังสามารถบูรณะได้ ไปจนถึงฟันผุลุกลามขนาดใหญ่ ที่ต้องได้รับการถอนฟันออกทั้งในน้ำนมและฟันกรามแท้ซี่แรก กอการศึกษาซึ่งมีภาะหน้าที่ในการดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง ตระหนักว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาลเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขก่อน โดยการใช้สารเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงชนิดทาเพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ร่วมกับการใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกเพื่อทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ นมอัดเม็ดโพรไบโอติก เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการป้องกันโรคฟันผุซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศ.ดร. รวี เถียรไพศาล และ ผศ.ดร.ทพญ. สุพัชรินทร์พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่รองรับได้ถึงผลในการป้องกันโรคฟันผุ เช่น 1. วารสาร Clin Oral Invest (2014) 18:857-862ซึ่งเชื้อโพรไบโอติกชนิด Lactobacilliusparacasei SD1 สามารถลดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ (mutans streptococci) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมอนามัยช่องปากเด็กชั้นอนุบาล และเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง ร้อยละค่าเฉลี่ยโรคฟันผุของเด็กชั้นอนุบาล และเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง ลดลงร้อยละ 50 |
50.00 | |
2 | เพื่อผู้ปกครอง ครูประจำชั้นและครูอนามัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ70 ของครูประจำชั้นและครูอนามัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก |
70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 1416 | 415,168.00 | 3 | 0.00 | |
1 ต.ค. 62 - 30 พ.ย. 62 | ประชุมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ด้านโพรไบโอติกและทันตสุขภาพ | 80 | 14,400.00 | ✔ | 0.00 | |
1 - 31 ธ.ค. 62 | จัดซื้อผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดโพรไบโอติก / วัสดุทางการแพทย์ / จัดจ้างสื่อประชาสัมพันธ์ /แผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง | 1,336 | 400,768.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ม.ค. 63 - 30 ส.ค. 63 | กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 |
- ประชุมประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองการศึกษา เจ้าหน้าที่งานอนามัยโรงเรียน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ครูผู้ดูแลเด็ก ครูอนามัย ทันตแพทย์ที่รับผิดชอบด้านทันตสาธารณสุขสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลพัทลุง วางแผนการดำเนินงาน
- จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมให้ความรู้ด้านโพรไบโอติกและทันตสุขภาพแก่ ครูผู้ดูแลเด็ก ครูอนามัย ครูประจำชั้น ผู้แทนครูที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
- จัดซื้อผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดโพรไบโอติก / วัสดุทางการแพทย์ / จัดจ้างสื่อประชาสัมพันธ์ /แผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
- ลงพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรม
5.1ตรวจสุขภาพช่องปาก โดยจะมีการตรวจ 2 ครั้ง คือ ก่อน / หลัง การให้เม็ดนมโพรไบโอติก
5.2ส่งมอบนมอัดเม็ดแก่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ( ให้ 3 เม็ด ต่อวัน 15 เม็ด/สัปดาห์ ไม่รวมเสาร์และอาทิตย์เป็นเวลา 6 เดือน )
5.3ประชาสัมพันธ์สื่อทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครอง เช่นแผ่นพับ ไวนิลโครงการ
- ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ
- สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
- เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุงมีสุขภาพช่องปากดี ไม่มีอัตราการผุเพิ่มขึ้นหรือไม่ผุลุกลาม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2562 13:14 น.