โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2563
1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบ ในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน 2. ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด 3. ให้ความรู้ พร้อมกันสื่อสารความเสี่ยงผ่านแกนนำ อสม. ที่ประชุมหมู่บ้าน และเวทีการประชุมต่างๆในพื้นที่ 4. การประชุมประชาคมภายในหมู่บ้านเมื่อเกิดกรณีการระบาดของโรค 5. ประชุม War room ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในกรณีเกิดการระบาด และหามาตรการในการหยุดการระบาดของโรค
1.ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ 2. การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT รพ.สต.บ้านในปง 3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก กรณีมีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยดำเนินการสอบสวน และควบคุมโรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชนภายใน ๒๔ ชั่วโมง และลงพื้นที่พ่นหมอกควันรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย ๑๐๐ เมตร เป็นจำนวน 2 ครั้ง โดยมีระยะห่างกัน 7 วัน และแจกทรายอะเบท และการพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการ โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด ฤดูกาลระบาด และหลังฤดูกาลระบาด
1.อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง ๒. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๓. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
- กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข
- รณรงค์ขับเคลื่อนโดยชมรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้ง บูรณาการกับการเยี่ยมบ้าน อสม. ผู้นำชุมชน และขยายผลสู่ประชาชน
- การประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายภายในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ
- สุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ๆมีผู้ป่วยต่อเนื่อง (มีผู้ป่วยสงสัยมากกว่า 2 รายภายใน 28 วัน)
- การไขว้ประเมินเพื่อสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายระหว่างหมูบ้าน
1.อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง ๒. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๓. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน