กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
รหัสโครงการ 63-L4138-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลยะลา
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 24,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรดา สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันพบว่าภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการขยะทำได้ไม่ทั่วถึง และมีประชาชนบางส่วนได้นำขยะมาทิ้งในที่หรือทางสาธารณะ ทำให้เกิดความสกปรก ไม่เป็นระเบียบ ไม่น่ามอง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ตำบลยะลา โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลยะลาได้พิจารณาจัดซื้อถังขยะขนาดต่างๆ ให้เพียงพอและเหมาะสมกับการจัดการขยะในชุมชน และเพื่อสร้างนิสัยในการรักษาความสะอาดและทิ้งขยะเป็นทาง จึงได้จัดกิจกรรมให้เด็กนักเรียนและประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเรือนและชุมชน ไม่ทิ้งขยะในชุมชน รวมทั้งให้ชุมชนดูแลรักษาความสะอาดในพื้นที่ของชุมชน นั้น ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลยะลาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ตามแนวทางประชารัฐ และเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาด การจัดเก็บ การขน การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องเหมาะสมด้วยสุขลักษณะ ตลอดจนเพื่อให้การจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนและสังคม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกในด้านการรักษาความสะอาดให้แก่เด็กนักเรียนและปราะชาชนในพื้นที่ให้มีจิตสาธารณะ รู้จักใช้เวลาว่างทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากขึ้น

เด็กนักเรียนและปราะชาชนในพื้นที่รักษาความสะอาด มีจิตสาธารณะ และรู้จักใช้เวลาว่างทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้บริเวณริมทางสาธารณะ มีความสะอาดเรียบร้อย ปราศจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

บริเวณริมทางสาธารณะ มีความสะอาดเรียบร้อย ปราศจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

0.00
3 เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความตระหนักรู้ถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองในบริเวณริมทางสาธารณะ

ประชาชนมีความตระหนักรู้ถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 155 24,500.00 1 19,531.00
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 155 24,500.00 19,531.00
  1. เขียนโครงการเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ
  2. การประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   3.1 ประสานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลาให้คำแนะนำให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลยะลา เกี่ยวกับการจัดการขยะให้ถูกวิธี   3.2 ประสานโรงเรียนบ้านปาโจ และประชาชนในพื้นที่ตำบลยะลา ร่วมกับอาสาสมัคร สาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารขยะอย่างถูกวิธี
  4. การประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ   5.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และรณรงค์ให้มีการทิ้งขยะลงในถังขยะ โดยมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนแต่ละประเภทแยกออกจากกัน เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย   5.2 มีการจัดเก็บขยะในพื้นที่และริมทางสาธารณะ โดยนักเรียนและประชาชนในพื้นที่อย่างน้อย 2 เดือนครั้ง   5.3 มีการบริหารจัดการขยะที่มีมูลค่าร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้งโดยนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ดังนี้     (1) การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ภายใต้แนวคิด “การบริจาคขยะหรือการทำบุญด้วยขยะ” เพื่อสมทบทุนในการพัฒนามัสยิด     (2) การบริหารจัดการขยะของส่วนราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา โดยองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ร่วมกับ โรงเรียนบ้านยะลา โรงเรียนบ้านปาโจ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ในการรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภทในเขตความรับผิดชอบของตนเอง ให้กับบุคคลกร นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ สำหรับรายได้ที่เกิดจากการขายขยะซึ่งได้จากการคัดแยกของแต่ละส่วนราชการในพื้นที่ให้นำไปสมทบกองทุนสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในชุมชนตำบลยะลา
  6. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถสร้างจิตสำนึกในด้านการรักษาความสะอาดให้แก่เด็กนักเรียน ประชาชนในพื้นที่ และเป็นการกระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีจิตสาธารณะ รู้จักใช้เวลาว่างทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วมมากขึ้น
  2. บริเวณริมทางสาธารณะ มีความสะอาดเรียบร้อย ปราศจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  3. ประชาชนมีความตระหนักรู้ถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองในบริเวณริมทางสาธารณะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2562 12:21 น.