กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรรม ต้านภัยเบาหวานความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านโพธิ์
รหัสโครงการ 63-L1501-2-0011
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านโพธิ์
วันที่อนุมัติ 12 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 24 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 10,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวหทัยทิพย์ หนูเหมือน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวณพัชญ์ปภา เกรียงไกรศักดิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.604,99.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10,170.00
รวมงบประมาณ 10,170.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 339 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุงประชากร 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย
5. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชน ฯลฯ 6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ 7. แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม. มีส่วนร่วม 8. จัดประชุม อสม. ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การวัดส่วนสูง น้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลกาย 9. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม. นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
10. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียน และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง(NCDs)
11. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจยืนยันต่อโรคเรื้อรัง(NCDs) โดยการตรวจหาความดันโลหิต หาระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดรอบเอว
12. บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม

ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 13. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรัง(NCDs) แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. อบต. ทราบภาระของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
14. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ ๙๐
  2. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง( NCDs)
  3. ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และให้การดูแลรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเพื่อลดความรุนแรงของโรคและสามารถหายเป็นปกติได้ง่าย
  4. ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2562 12:57 น.