กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ แก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ปี 63
รหัสโครงการ 63-L6961-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แผนกฝากครรภ์ รพ.สุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกรุณา สุขเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2500กรัม หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอดและมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูงจากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือภาวะตกเลือดหลังคลอด และจากสถิติประจำปีงบประมาณ 2562 ของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกพบว่า อัตรามารดาตาย เท่ากับ 134.46ต่อแสนการเกิดมีชีพ เป้าหมายอัตรามารดาตายไม่เกิน15ต่อแสนการเกิดมีชีพอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 9.10 ซึ่งมีค่าต่ำกว่ากว่าเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมายน้อยกว่า 10 %) แต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก ทำให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมแล้ว ยังมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในอำเภอสุไหงโก-ลก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

อัตราหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางมากกว่าร้อยละ 85

0.00
2 2เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่า  ร้อยละ 10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจาง และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์ที่ โรงพยาบาลสุไหงโกลกหญิงตั้งครรภ์เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจาง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความสามารถดูแลตนเองในระหว่างตั้งครรภ์ได้และมีความปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง
  2. อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ให้ลดลงร้อยละ 5 จากเดิม
  3. มารดาคลอดทากรกน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัมลดลง ไม่เกินร้อยละ 7
  4. มาราดาคลอดทารกก่อนกำหนด ลดลงร้อยละ 5 จากเดิม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2562 10:44 น.