กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คัดกรองภาวะเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ต้อกระจก และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 62-L5251-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 8,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเยาวนิต บุญมาต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 122 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular diseases) และโรคหัวใจขาดเลือด (ischaemic heart diseases) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นของคนไทย ตั้งแต่ปี 2555 ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 54,000 รายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้มากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคกลุ่มนี้เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ การรับประทานที่มากเกินพอดี ไม่สมดุล รับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม รับประทาน ผักผลไม้น้อย ใช่เครื่องอํานวยความสะดวกมากขึ้น มีกิจกรรมทางกายน้อยลง ไม่ออกกําลังกาย เครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะนํ้าหนักเกิน  อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยกรมอนามัย (พ.ศ.2556) พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพด้วยโรคความดันโลหิตสูง 41% โรคเบาหวาน 18% และโรคซึมเศร้า 1% ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่า95% ได้รับการดูแลรักษา แต่ก็มีผู้สูงอายุมากถึง 55% ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ43% ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุไทยปฏิบัติตัวได้น้อยที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 15-30 นาทีเป็นประจำ (57%) ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเป็นประจำ (65%) รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ (66%) ไม่ดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (83%) และไม่สูบบุหรี่ (84%) ส่งผลให้ผู้สูงอายุไทยมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ซึ่งพบความชุกสูงถึง 43% ในเพศชาย และ50% ในเพศหญิง โดยปัจจัยป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การออกกำลังกายเป็นประจำและการกินอาหารที่เหมาะสม นอกจากนั้นการสำรวจของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (พ.ศ.2556) พบว่าผู้สูงอายุยังมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย (58%) ด้านการมองเห็น (19%) และด้านจิตใจ (3%)
  การดำเนินมาตรการเชิงรุกการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อมๆ กัน (global risk score) เพื่อทำนายโอกาสเกิดโรคภายในอนาคตข้างหน้า จะทําให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถจัดการตนเองได้ด้วยการสนับสนุนจาก อสม และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม จะส่งผลให้นํ้าหนักตัว ระดับความดันโลหิต ระดับนํ้าตาลและไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนั้นการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง สายตาผิดปกติ ภาวะซึมเศร้าและการดูแลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและลดภาระสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้น

ผู้สูงอายุ(ผู้ที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป) ที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดย อสม. ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุทั้งหมด

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมและตรงกับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุ

ร้อยละ ๘0 ของผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามศักยภาพ

ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 ก.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม. 25 7,600.00 7,600.00
29 ต.ค. 63 กิจกรรมการคัดกรองภาวะสุขภาพ 100 600.00 600.00
29 ต.ค. 63 กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน/ติดตาม หลังจากคัดกรอง 25 0.00 0.00
รวม 150 8,200.00 3 8,200.00

1.จัดทำข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลสำนักขาม เพื่อเตรียมการคัดกรอง
2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้และทักษะในการใช้แบบคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ 10 เรื่องของกรมการแพทย์ มี การประเมินสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ/การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk)/การคัดกรองโรคเบาหวาน/การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/ วิธีการคัดกรองตาต้อกระจกด้วยการนับนิ้วมือระยะ 10 ฟุต/การทดสอบสภาพสมอง/ และการใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q/9Q /การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม/การคัดกรองภาวะหกล้ม/การคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะ
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข โดย       -เจ้าหน้าที่ สธ ตรวจคลำชีพจร ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ที่มีชีพจรเต้นผิดจังหวะ เพื่อส่งต่อไปรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ รพ.       -เจ้าหน้าที่ สธ คัดกรองโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ ด้วยแบบประเมินโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยบันทึกข้อมูลที่จำเป็น เช่น เพศ อายุ เพศ การสูบบุหรี่ การเป็นเบาหวาน เป็นต้น ด้วยโปรแกรมใน computer กรณีมีความเสี่ยงสูง จะส่งต่อไปรพ.พบแพทย์ และทุกระดับความเสี่ยงจะให้คำปรึกษาแนะนำการออกกำลังกาย การกินผักผลไม้มากขึ้น การลดและควบคุมน้ำหนัก       -อสม.ช่วยตรวจวัดสายตาคัดกรองตาต้อกระจก โดยทดสอบการนับนิ้วมือที่ระยะ 10 ฟุต หากผู้สูงอายุนับผิด 3 ครั้งจาก 5 ครั้ง แสดงว่าผิดปกติ ส่งให้เจ้าหน้าที่ สธ ตรวจกรองซ้ำด้วยการวัด VA ใช้แผ่น Snellen chart หรือ E chart หาก VA ต่ำกว่า 20/70 หรือ 6/18 จะส่งต่อ รพ เพื่อตรวจและวินิจฉัยต่อไป
      -อสม.คัดกรองภาวะซึมเศร้า โดยใช้แบบคัดกรอง 2Q หากมีข้อใดข้อหนึ่ง ให้สอบถามต่อด้วยแบบประเมิน
9Q หากคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7 เจ้าหน้าที่ สธ จะตรวจประเมินซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยัน หากใช่สอบถามด้วยแบบประเมิน 8Q ถ้าคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 17 แจ้งผู้ใกล้ชิดทราบและส่งต่อ รพ.       -บันทึกการตรวจและผลคัดกรองในทะเบียนหรือฐานข้อมูล โปรแกรม JHCIS เพื่อส่งประมวลผลเข้าโปรแกรม HDC ของจังหวัดสงขลา 4. กรณีการคัดกรองผู้สูงอายุแล้วพบความผิดปกติตามข้อใดข้อหนึ่งใน 10 เรื่อง แจ้ง อสม.อาสาสมัครสาธารณสุขในเขตพื้นที่รับผิดชอบผู้สูงอายุท่านนั้น ออกติดตาม เยี่ยมบ้านทุก 2 - 4 สัปดาห์ เพื่อติดตามการพบแพทย์หรือให้แล้วให้รายงานกลับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อให้สุขศึกษาและคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองด้วยการออกกำลังกาย การกินผักผลไม้มากขึ้น การลดและควบคุมน้ำหนัก 5. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ประสานและติดตามข้อมูลรายที่ส่งต่อไปยัง รพ และออกเยี่ยมให้คำปรึกษา
6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสำนักขาม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพ
  2. ผู้สูงอายุที่มีผลคัดกรองผิดปกติได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามความเหมาะสมมีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2562 11:38 น.