กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5184-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 97,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพงษ์ มะสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
35.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือกองทุน อปท.เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและภาคีภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนแสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามภารกิจที่ สปสช.กำหนดในข้อ 10(4) กลไกในสังคมที่จะต้องเข้าร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้สำเร็จลุล่วง จากการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา พบว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของกองทุนและคณะกรรมการกองทุน โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา จึงได้จัดทำ "โครงการบริหารและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา ปี 2563" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

35.00 35.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

20.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

27 พ.ย. 62 การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่1 25.00 625.00 -
31 ม.ค. 63 การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนครั้งที่ 1 15.00 375.00 -
13 ก.พ. 63 การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯครั้งที่2 25.00 625.00 -
20 มี.ค. 63 การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3 25.00 625.00 -
25 มี.ค. 63 ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 0.00 23,600.00 -
2 เม.ย. 63 ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ 0.00 9,000.00 -
9 ก.ค. 63 ค่าบริหารจัดการกองทุนต่างๆ เช่นค่าจัดซื้อวัสดุ ค่าเดินทางไปราชการ เป็นต้น 0.00 1,875.00 -
11 - 12 ก.ย. 63 การจัดทำแผนงานและโครงการฯ กองทุนหลักประกันสุขภาพศบาลตำบลบ้านนา ประจำปีงบประมาณ 2564 42.00 60,275.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ เพื่อประกอบการดำเนินงาน 3.จัดเตรียมค่าในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 4.จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 5 ครั้ง/ปี 5.จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี คณะทำงาน 2 ครั้ง/ปี 6.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารงานกองทุนระหว่างกองทุน จำนวน 1 ครั้ง 7. อบรมการจัดทำแผนสุขภาพประจำปี จำนวน 1 ครั้ง 6.ประชุมจัดทำแผนสุขภาพ จำนวน 1 ครั้ง 7.จัดทำรายงานการประชุมเพื่อสรุปผลการประชุมและมติที่ประชุม 8.สนับสนุนส่งเสริมให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ได้ผ่านการอบรม สัมมนา หรือเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9.สรุปรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ที่ขอรับงบสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เมื่อสิ้นสุดโครงการหรือกิจกรรม 10 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2.โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอนุมัติอย่างน้อย 80%
3.คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุน มีความรู้ความเข้าใจในระเบียบและแนวทางการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4.การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 08:41 น.