กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายห่วงใยใส่ใจแม่และเด็ก ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านโคกโตนด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนูรอาซีกีม ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.222place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดปัตตานีเพราะในปัจจุบันความเป็นอยู่ของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามลำดับตามแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 9 รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพการส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด คือ การเข้าถึงสถานบริการและการมีสุขภาพที่ดีของแม่และลูก ซึ่งมีตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 90อัตราการคลอดในสถานบริการ ร้อยละ 92 ทารกแรกเกิดคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัมน้อยกว่าร้อยละ 7 และอัตราตายปริกำเนิด( ต่ำกว่า 7วัน ) ไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดมีชีพและเนื่องจากงานอนามัยแม่และเด็กเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพหากมีการพัฒนางานที่เป็นระบบ และมีเครือข่ายสร้างสุขภาพที่ดี มีประสิทธิภาพที่แท้จริง ก็จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนางานสาธารณสุขด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาเริ่มจากการที่เมื่อแม่รู้ว่าตั้งครรภ์ ต้องมาฝากครรภ์ทันทีก่อนอายุครรภ์ 12สัปดาห์ และได้รับการคัดกรองปัจจัยเสี่ยงการตรวจทางห้องปฏิบัติการการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการรับบริการตรวจตามนัดสม่ำเสมอ กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่หญิงตั้งครรภ์ต้องรับรู้และต้องปฏิบัติเพื่อจะทำให้สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆในการตั้งครรภ์ลงได้ ส่งผลให้แม่และลูกคลอดอย่างปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี สำหรับการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดตำบลคอลอตันหยง ปีงบประมาณ 2557-2559มีผลการดำเนินงานตามรายละเอียดดังนี้ คือ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12 สัปดาห์ ร้อยละ 78.33,81.40 และ72.24 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 8.33,6.98 และ10.34 ดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 78.26,94.59 และ 83.33การคลอดกับผดุงครรภ์โบราณ ร้อยละ 8.33, 5.41 และ 0.00 มารดามีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 17.39 , 8.11 และ 11.11 ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัมร้อยละ6.52 , 2.70 และ 0.00 อัตราคุมกำเนิด ร้อยละ 78.28,84.12 และ 77.32
จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวพบว่าตัวชี้วัดเกือบทุกตัวที่เป็นปัญหาเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น คือ หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์หญิงมีครรภ์มีภาวะโลหิตจาง หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์การคลอดกับผดุงครรภ์โบราณ มารดามีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี อัตราทารกตายปริกำเนิดและอัตราการคุมกำเนิด ทั้งนี้งานอนามัยแม่และเด็กบางตัวชี้วัดที่กล่าวมาข้างต้นมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ในปี2560ซึ่งมีสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการทั้งด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ระบบการให้บริการ ผู้รับบริการ คือหญิงตั้งครรภ์และปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น หญิงตั้งครรภ์ไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ การมีผดุงครรภ์โบราณที่เป็นคนในพื้นที่ปฏิบัติงานมาช้านานทำให้เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของประชาชนในพื้นที่ และเหตุการณ์สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความกลัวไม่กล้าที่จะไปคลอดที่โรงพยาบาลถ้าหากต้องคลอดในเวลากลางคืน และมีหญิงแต่งงานคู่ใหม่อายุน้อยมากขึ้น หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้ในการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กและการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ด้วยสาเหตุปัจจัยดังกล่าวทำให้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้บรรลุตามเกณฑ์ตัวชี้วัด และส่งผลให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีความรู้เกิดความตระหนักด้านสร้างสุขภาพและมีการพัฒนาศักยภาพ สามารถนำความรู้ไปพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กได้อย่างถูกต้อง
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ต้องฝากครรภ์ก่อนอายุ12สัปดาห์ร้อยละ 60
  2. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่า ร้อยละ 10
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ร้อยละ 80
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ฝากครรภ์ครบ5 ครั้งตามเกณฑ์ และมีทัศนะคติที่ดีต่อการคลอดที่โรงพยาบาล
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่า ร้อยละ90
  2. มารดามีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปีน้อยกว่า ร้อยละ 10
  3. มารดาคลอดในสถานบริการร้อยละ92
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กที่ถูกต้อง และการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
  1. หญิงตั้งครรภ์คลอดกับ ผดุงครรภ์โบราณ น้อยกว่า ร้อยละ5
  2. ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ7
  3. มารดาตาย น้อยกว่า 18/100,000การเกิดมีชีพ
4 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหางานอนามัย-แม่และเด็ก
  1. ทารกตายปริกำเนิด (ต่ำกว่า 7 วัน )น้อยกว่า 9/1,000 การเกิดมีชีพ
  2. ทารกตาย (อายุต่ำกว่า 1 ปี )น้อยกว่า 15/1,000การเกิดมีชีพ
  3. อัตราคุมกำเนิด ร้อยละ 75
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

กิจกรรมที่ 1จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานอนามัยแม่และเด็ก ระหว่างเครือข่ายสุขภาพ (อาสาสมัครสาธารณสุข), ผู้นำชุมชน,ผดุงครรภ์โบราณ และแกนนำสตรี
กิจกรรมที่ 2เครือข่ายสุขภาพเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเป้าหมายงานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ หญิงวัยเจริญพันธ์ และ หญิงตั้งครรภ์
2.1เครือข่ายสุขภาพจัดทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธุ์และ หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ 2.2เครือข่ายสุขภาพเฝ้าระวังติดตามหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด โดยการสอบถามการมาประจำเดือนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตรับผิดชอบ เพื่อการฝากครรภ์ทันทีก่อน 12 สัปดาห์ 2.3เครือข่ายสุขภาพเฝ้าระวังติดตามหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด โดยการดูแล ติดตาม การฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ให้ไปตรวจครรภ์ตามที่สถานบริการนัดหมายทุกครั้งจนครบกำหนดคลอด 2.4เครือข่ายสุขภาพเฝ้าระวังติดตามหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด ให้ไปคลอดที่โรงพยาบาลหรือที่สถานบริการ


กิจกรรมที่ 3ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพ ทุกเดือน กิจกรรมที่ 4สรุปผลงานส่ง กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคอลอตันหยงและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หนองจิก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดทั้งหมด 2.ชุมชนรับรู้ปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 12:04 น.