กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการชุมชนปลอดโฟม พลาสติก อาหารปลอดภัยใน่ใจผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดโฟม พลาสติก อาหารปลอดภัยใน่ใจผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี2563
รหัสโครงการ 63-L5240-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.พรวน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันวิสาข์ เทพเดชา
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภชัย เผือกผ่อง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ สำหรับบุคคลทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยนั้น ทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษ และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน และประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน เป็นประจำ ก็เป็นประจำ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้นงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นนโยบายสำคัญมาตั้งแต่ปี 2548 โดยกำหนดยุท่ธศาสตร์การดำเนินงานด้านความแข็งแรงในการกำกับดูแล ให้อาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ซึ่งมีกิจกรรมการดูแลสถานประกอบการอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหาร การดำเนินโครงการอาหาร สะอาด รสชาติอร่อย clean food good taste การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด และสารโพลาห์ในน้ำมัน ทอดซ้ำ รวมทั้ง อะฟาท็อกซิน ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ผ่านสื่อต่างๆกิจกรรมเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่สะอาด ปลอดภัย อาหารที่สะอาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ อาหารหรือวัตุดิบที่นำมาปรุงสถานที่ผลิตและประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร แผงลอย ตลอด แผงขายอาหารสด ร้านขายของชำ โรงครัวในวัดและโรงเรียน ร้านขายของชำ ครัวเรือน ตลอดจนคนจำหน่าย คนปรุง คนเสริฟอาหารและคนทำความสะอาดภาชนะ นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอย เป็นต้น และจากข้อมูลการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของตำบลท่าหิน หมู่ที่ 7-9 ปี 2561 พบว่าร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย 100 % และผ่านเกณ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 100% พบว่าผ่านร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย 100% ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 100%ชุมชนปลอดโฟม และพลาสติก 100% ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพปลอดภัยไร้สารเคมีต้องห้าม แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน เนื่องจากประชาชนปรุงอาหารรับประทานเองเป็นส่วนมาก การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในร้านค้า/ชุมชน/โรงเรียน จึงต้องมีการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่แม่บ้าน/ผู้ประกอบการร้านค้า นักเรียนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่าย ให้ตระหนักเห็นความสำคัญของการเลือกซื้อเลือกอาหารบริโภคที่ถูกต้อง การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจำหน่ายอาหาร การปรับปรุงประกอบอาหารและทั้งในโรงครัวโรงเรียน แผงลอยและครัวเรือนตลอดจนการสร้างจิตสำนึกชุมชนให้ปลอดโฟม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู่แก่ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย กลุ่มแม่บ้านประจำครัวเรือน นักเรียนกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียน กลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยอาหาร และประชาชนทั่วไป ผ่านสื่อทุกรูปแบบ โดยเน้นในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด แผง ลอยอาหาร และครัวเรือนตลอดจนโรงครัวโรงเรียนในวัดและโรงครัวชั่วคราว ในหมู่บ้านเมื่อมีงานต่างๆได้แก่ งานศพ งานมงคลสมรส งานอุปสมบท เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกพื้นที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปฎิบัติตนอย่างถูกต้องต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดโฟม อาหารปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สถานที่ประกอบการร้านอาหารได้รับการตรวจติดตาม ดูแลสุขาภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัย ร้อยละ 100

 

100.00
2 สถานที่ประกอบการด้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านอาหารปลอดภัยร้อยละ 100

 

100.00
3 กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 100

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1.จัดทำโครงการ 2.ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่7-9 เพื่อวางแผนดำเนินงาน 3.จัดเตรียมสิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการ ระยะเวลาปฎิบัติการ 1.ตรวจ ติดตาม ดูแลด้านสุขาภิบาลอาหาร/อาหารปลอดภัย ร้านค้าปลอดโฟม/แผงลอยขายอาหาร จำนวน 11 แท่ง 2.ตรวจ ติดตาม ร้านค้า เก็บตัวอย่างน้ำดื่มบริโภค ตรวจเชื้อคลอริฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 10 ตัวอย่าง/น้ำแข็งบริโภค จำนวน 10 ตัวอย่าง 3.ตรวจเชื้อคลอริฟอร์มแบคทีเรีย แผงลอยขายอาหาร จำนวน 1 ร้าน 10 ตัวอย่าง 4.เดินรณรงค์แจกแผ่นพับ จำนวน 288 ฉบับ จำนวน 288 ครัวเรือน 5.กำหนดแผนการอบรม 6.ลงทะเบียนการอบรม/แจกเอกสาร อบรมสุขาภิบาลอาหาร เนื้อหาการอบรม ประกอบด้วยนโยบายการดำเนินงาน อาหารปลอดภัยปี 2561 วัตถุประสงค์การอบรม สุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารปลอดภัย ผู้ปรุงประกอบอาหารในงานต่างๆของหมู่บ้าน แกนนำ/อาสาสมัครสาธารณสุขของหมู่บ้าน/อบต/ผุ้ประกอบร้านชำ/แผงลอย จำนวน 40 คน เนื้อหาอบรม ประกอบด้วย นโยบายการดำเนินงาน อาหารปลอดภัยปี2561 วัตถุประสงค์การอบรมสุขาภิบาลอาหารและการปรุงประกอบอาหาร การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ในกลุ่มผู้ดูแลเด็กอายุ0-5ปี/ครูผู้ดูแลเด็ก/จำนวน 10 คน 7.จัดทำแผ่นไวนิลประชาสัมพันธ์/เอกสารแผ่นพับ 8.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ -ให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่ม เอกสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ -หอกระจายข่าว เสียงตาย -ประชุมประจำเดือน อสม. 9.สนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียน อย.น้อย จำนวน 6 คน/โรง 10.พัฒนาแผงลอย 1 แผง 11.จัดประชุมประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยอาหารร่วมกับรถโมบาย จำนวน 6 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการด้านอาหาร สถานประกอบการด้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
2.ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการปรุงประกอบอาหาร เลือกซื้อ และบริโภคอาหารที่สะอาด และปลอดภัย จนเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน 3.ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นโรคที่เกิดจากองค์ประกอบด้านการผลิตอาหาร และบริโภคอาหารเป็นปัจจัยหลักลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2562 09:25 น.