กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายร่วมใจต้านภัยมะเร็ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านโคกโตนด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนาซีฮัฮ โตะลู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.222place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งในขณะนี้ สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทย รองลงมาคือโรคมะเร็งเต้านม โดยในปัจจุบันพบโรคมะเร็งในสตรีที่มีอายุน้อยลง สำหรับสาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น กรรมพันธุ์ วิถีการดำรงชีวิตซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค และโอกาสการเข้าถึงสถานบริการทางด้านสาธารณสุขเมื่อมีอาการของโรคโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรก โดยสตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกๆเดือน เป็นการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม และสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap smear อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งได้มีการทำวิจัยอย่างแน่ชัดแล้วว่าสามารถลดอัตราการเกิดและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดปี 2554-2558 ดังนี้ คือ ปี 2554 ร้อยละ 20.70 ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ที่ผิดปกติ, ปี 2555 ร้อยละ 15.00 ไม่พบเซลล์ที่ผิดปกติ, ปี 2556 ร้อยละ 19.14 ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ที่ผิดปกติปี 2557 ร้อยละ 8.64 ไม่พบเซลล์ที่ผิดปกติ, และ ปี 2558 ร้อยละ 2.00 ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ที่ผิดปกติ จะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนัก และไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเช่นการอ้างผิดหลักศาสนา การกลัวเจ็บจากเครื่องมือแพทย์ และอายเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจจากปัญหาดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านโคกโตนด ตำบลคอลอตันหยง ได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

สตรีอายุ 35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20

เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20

3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทันที ร้อยละ100

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทันที
ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำโครงการ
  2. เตรียมคลินิกบริการ

- จัดทำกระบวนงานคลินิกคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก - เตรียมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ - เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ และห้องตรวจที่มิดชิด - เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเน้นเจ้าหน้าที่สตรีเท่านั้น - กำหนดวันให้บริการสัปดาห์ละ 1 วัน คือ วันพฤหัสบดี 3. จัดประชุมให้ความรู้แก่ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย 4. กลุ่มเป้าหมายรับการคัดกรองโรคมะเร็งมะเร็งเต้านม และปากมดลูก 5. กลุ่มเป้าหมายที่มีความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เครือข่ายชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถแนะนำกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมตนเองและรับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มขึ้นกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติของเซลล์ หรือมีการติดเชื้อต้องได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์อย่างทันที เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 12:43 น.