กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังติดตามโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กแรกเกิด–5 ปี ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L289-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 19,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอซัก สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.571,101.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 19,100.00
รวมงบประมาณ 19,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 549 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในทุกพื้นที่ ตามพันธะสัญญานานาชาติว่าด้วยการกวาดล้างโรคโปลิโอและการกำจัดโรคหัดโดยกำหนดเป้าหมายไม่เกิน1ต่อล้านประชากรในปี 2563 และจากสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนใต้ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้มีการเกิดระบาดด้วยโรคหัดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน (ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม- 20 พฤศจิกายน 2561) มีจำนวนยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 22 ราย และจากสถานการณ์จังหวัดนราธิวาส ปี 2561 (ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม- 20 ธันวาคม 2561) พบว่ายังมีประชาชนป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนี้ 1)โรคหัด พบผู้ป่วยในพื้นที่ทุกอำเภอ จำนวน 368 ราย อัตราป่วยรวม 20.44 ต่อประชากรแสนคน และเสียชีวิต 1 ราย อัตราเสียชีวิตรวม 0.05ต่อประชากรแสนคน 2) โรคไอกรน พบผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จำนวน 1 ราย อัตราป่วยรวม 0.05 ต่อประชากรแสนคน และจากข้อมูลความครอบคลุมการให้บริการวัคซีนในเด็กแรกเกิด- 5 ปี พบว่าความครอบคลุมให้บริการวัคซีนในเด็กแรกเกิด- 5 ปี ปี 2560-2562 ยังไม่ได้ตามเกณฑ์

    จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ ในรอบปี2562พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 3 ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ 0.16 ต่อประชากรแสนคน ในกลุ่มเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่มารับบริการเองตามนัดคิดเป็นร้อยละ 62.02 กลุ่มลังเลไม่ปฏิเสธและต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคิดเป็นร้อยละ 32.75 และกลุ่มปฏิเสธการรับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 5.21 อัตราความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 90.59 อัตราความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 97.92 อัตราความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 77.63 อัตราความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 62.07 จากผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ผ่านมาต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อการรับแพร่เชื้อเกิดโรคระบาดจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้   สำหรับพื้นที่ตำบลบาเระเหนือยังคงมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อและเกิดการระบาดได้หากมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าออกในพื้นที่ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือยังคงต้องมีนโยบายรณรงค์ให้ได้รับวัคซีนพื้นฐานและจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ และผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กแรกเกิด - 5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความตระหนักในการพาบุตรหลานมารับบริการฉีดวัคซีนเพราะฉะนั้นการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ติดตาม แก่ผู้ปกครองเด็กและจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการดำเนินงานเชิงรุกต่อเนื่องทุกปี จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค และเป็นการป้องกันสุขภาพเด็กในพื้นที่ไม่ให้ติดเชื้อรวมถึงการลดโอกาสติดเชื้อจากภายนอกกลับเข้ามาระบาดได้ จากเหตุผลดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กอายุครบ 1 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

549.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 185 19,100.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการ(แกนนำ/ภาคีเครือข่าย)ถอดบทเรียนในปีที่ผ่านมาเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา 45 4,500.00 -
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมปฏิบัติการ(แกนนำ/ภาคีเครือข่าย)พร้อมติดตามและให้บริการวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่ 70 14,000.00 -
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดทำป้ายโครงการฯ 70 600.00 -

1 อบรมเชิงปฏิบัติการ(แกนนำ/ภาคีเครือข่าย)ถอดบทเรียนในปีที่ผ่านมาเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา 2.ประเมินความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3.พร้อมให้บริการฉีดวัคซีนที่จุดนัดหมาย 4.ให้แกนนำและเครือข่ายติดตามค้นหาเด็กอายุแรกเกิด -5 ปี ให้มารับวัคซีนทุกวันพุธของเดือน 5.แจ้งแผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุกให้แก่แกนนำและเครือข่ายเพื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปกครอง 6.ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุก 7.เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ ระยะหลังดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กแรกเกิด -5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
  2. ผู้ปกครองมีความตระหนักในการพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนตามอายุเกณฑ์ที่กำหนด
  3. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2562 11:49 น.