กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปและติดตามกลุ่มป่วยในพื้นที่ ม.2
รหัสโครงการ 63-L5251-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 5,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญาภัทร์ รักรอด/นางจิราภา หลังโส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของทุกพื้นที่ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ทำให้เกิดความพิการก่อนวัยอันควร ปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ ดังนั้นการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงมีความสำคัญมากในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านด่านนอก เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยเป็นจำนวนมาก ในทุกๆปีทาง อสม.และรพ.สต.ศรีประชาเขตได้มีการคัดกรองโรคในพื้นที่ ซึ่งอุปกรณ์มีไม่เพียงพอต่อการตรวจคัดกรองเนื่องจากประชากรกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น และเขตรับผิดชอบในพื้นที่กว้าง และห่างไกลจากจุดพื้นที่ที่สามารถรวมตัวกันได้ อีกทั้ง อสม.ต้องรอต่อใช้อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยในพื้นที่ของตนเอง ทางอสม.หมู่ที่ 2 จึงได้จัดทำโครงการนี้เป็นการเพิ่มความสะดวกและเพิ่มการเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่ไม่สามารถมาตรวจคัดกรองได้ในรพ.สต.

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ของตัวเองมากขึ้น ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่มองข้ามอาการผิดปกติที่แสดงออกมาแม้เพียงเล็กน้อย เช่นการเกิดอาการวิงเวียนบ่อย หน้ามืด เพลีย ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

1.ร้อยละ 90 % ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง เข้ารับการคัดกรอง และหากพบว่าเป็นโรคสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันเวลา

1.00
2 2.ประชาชนกลุ่มที่เป็นโรค ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ได้รับการบริการตรวจคัดกรองก่อนไปพบแพทย์เพื่อรับยา

2.ประชาชนกลุ่มที่เป็นโรค ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ได้รับความสะดวกในการตรวจก่อนไปรับยาที่โรงพยาบาล

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 6200 5,500.00 5 5,500.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1.อสม.ประชุมวางแผนเพื่อกำหนดการลงพื้นที่ในการคัดกรอง 1,240 0.00 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 2.ทำการลงพื้นที่คัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ไม่เคยเป็นโรค ทั้ง 3 ชุมชน ของหมู่ที่ 2 บ้านด่านนอก 1,240 5,500.00 5,500.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 3.เก็บตกการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้รับการคัดกรอง ให้ได้รับการคัดกรอง 100 % โดยการลงคัดกรองตามบ้าน 1,240 0.00 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 4.ตรวจคัดกรอง หาค่าความดันโลหิตสูง และค่าน้ำตาลในเลือดให้กับกลุ่มประชาชนที่เป็นโรค ก่อนไปรับยาที่โรงพยาบาล 1,240 0.00 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 5.บริการตรวจ คัดกรอง ให้กับผู้ป่วยพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ถึงบ้าน (เบิกวัสดุอุปกรณ์ เข็ม สำลี แอลกอฮอล์ และ แถบตรวจน้ำตาล (test strips) ที่รพ.สต.ศรีประชาเขต ) 1,240 0.00 0.00
  1. อสม.หมู่ 2 ประชุมวางแผนการดำเนินการลงคัดกรองโรคในแต่ละชุมชน
      2. ประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบ   3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   4. จัดกิจกรรมเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงอันตราย ภัยเงียบของการไม่ได้รับการคัดกรองโรค   5. ทำการตรวจคัดกรอง ให้คำปรึกษาและให้ความรู้   6. หากพบกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้มาตรวจคัดกรองใหม่อีกครั้งตามนัดหมาย และหากพบมีอาการผิดปกติ อสม.จะทำการประสานเจ้าหน้าที่รพ.สต เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาโดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการตระหนักและดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น     2.ประชาชนที่พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรค เข้ารับการคัดกรอง ได้รับคำแนะนำ และเข้าตรวจสุขภาพที่รพ.สต.หรือรพช.เพื่อการดูแลรักษาตัวเอง     3.ประชาชนกลุ่มที่เป็นโรค ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง การประเมินผล 1.จากแบบสำรวจ การเก็บข้อมูลในพื้นที่ 2.จากทะเบียนผู้มารับบริการตรวจคัดกรอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2562 13:32 น.