กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองสุขภาพแก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้บริโภค ที่มีภาวะเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5251-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 8,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเยาวนิต บุญมาต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,200 คน (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2562) เป็นพื้นที่หนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และสวนผัก การทำเกษตรของประชาชนในพื้นที่ยังมีการพึ่งพาสารเคมีในการกำจัดแมลง มีทั้งกลุ่มออร์กาโนคลอไรน์, กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต,กลุ่มคาร์บาเมต และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอยด์ และสารป้องกันและกำจัดวัชพืช ในการทำการเกษตร ซึ่งผลกระทบของสารเคมีต่างๆเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากเกษตรกรไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สารเคมีต่างๆ เหล่านี้ เช่น พฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรที่ไม่ถูกต้อง การสัมผัสสารเคมีโดยไม่ใส่ผ้าปิดจมูก, ไม่สวมถุงมือ, ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ปกปิด และไม่สวมรองเท้าบู๊ท เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรสามารถสัมผัสสารเคมีโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การสูดหรือดมสารเคมีเข้าไปและถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึมฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรที่สัมผัสสารเคมีอาจส่งผลต่อสุขภาพทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ, โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น สารเคมีต่างๆ เหล่านี้ยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้ระบบนิเวศจะเปราะบางลงไม่สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติ การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะรุนแรงและถี่ขึ้นนโยบายของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข(ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน )ด้านการพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิต, นโยบายด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง และนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่สนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มานำใช้ในพื้นที่ของตนเองส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่พึ่งพาตนเองทำการเกษตรที่ปลอดสารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์ ดังนั้น เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้กลุ่มเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีในพื้นที่มีความรู้และเกิดความตระหนักถึงอันตราย ผลกระทบ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเป็นการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงให้แก่กลุ่มเกษตรกร
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จึงขอจัดทำโครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองสุขภาพแก่กลุ่มเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีในพื้นที่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรได้รับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (นบก.1)

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมี

 

0.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อให้เกษตรกรได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

เกษตรกรและผู้บริโภค ที่มีความเสี่ยงได้รับการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมี ร้อยละ 100

0.00
4 ข้อที่ 4.เพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,150.00 2 8,150.00
22 เม.ย. 64 1 คัดกรองสุขภาพกลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรและกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ 0 950.00 950.00
22 เม.ย. 64 2 อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร และกิจกรรมประเมินความเสี่ยงทางกาย พร้อมเจาะเลือด 0 7,200.00 7,200.00

1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรในพื้นที่
เช่น เกษตรกรชาวสวนยางพารา ปลูกผัก และกลุ่มผู้บริโภค เข้าร่วมโครงการ 3. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ทีเกี่ยวข้องติดต่อ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    4. ดำเนินการเจาะเลือดคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย
4. ให้ความรู้ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการเจาะเลือดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
5. วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำสภาวะสุขภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรและส่งต่อผู้ที่มีผลผิดปกติเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง 6. สรุป-รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 .กลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรได้รับการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพและ ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง 2. ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตร ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติงานและสามารถนำความรู้ไปนำใช้กับตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2562 09:40 น.