กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3341-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 9,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประทีป สว่างคีรี นางนี เลี่ยนกัตวา นางดารา ทองอินทร์ สุกานดา จิตรเอียด นางอุดมวรรณ ทองอินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเชียนั้น ผู้เป็นเบาหวานร้อยละ ๙๙ เป็นเบาหวานชนิดที่ ๒ เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมายทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังได้แก่ ไตวาย แผลเรื้อรังที่เท้า ต้อกระจกและตาบอด โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เป็นต้น และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญมากของโรคเบาหวานที่ต้องให้ความสนใจไม่น้อยไปกว่าภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นั่นก็คือ แผลที่เท้า แผลที่เท้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีมักก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดัน หรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าก็จะไม่รู้สึกเจ็บทำให้แผลนั้นลุกลาม         จากการสำรวจ สภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบจำนวน 105 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จำนวน 6๐ คน ได้มีการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้าและมีปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๓๘ ซึ่งจากการตรวจคัดกรองเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง ถ้าหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการบำบัดนั้นผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว อาจเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก อาจถูกตัดขาได้ในที่สุด         ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงได้หาแนวทางและกระบวนการที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา จึงได้ทำนวัตกรรม “สมุนไพรแช่เท้า” มาใช้ในการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ที่ระดับเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง เพื่อให้ลดภาวะแทรกซ้อนในเท้าผู้ป่วยเบาหวานทำให้เท้าสะอาด ลดการติดเชื้อ ดับกลิ่นเท้า รักษาแผล กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด คลายเส้นคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการชาของเท้า และคลายเครียดจากกลิ่นสมุนไพร ที่มีน้ำมันหอมระเหย และให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทักษะ สามารถดูแลเท้าของตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชาลดลง ร้อยละ 80

1.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะความเสี่ยงของแผลที่เท้า

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า ร้อยละ 100

1.00
3 เพื่อให้เกิดทักษะในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการให้บริการ ร้อยละ 80

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 9,350.00 3 9,350.00
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน 60 4,500.00 4,500.00
1 ม.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 กิจกรรมตรวจคัดกรองหาภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก 60 600.00 600.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรม “สมุนไพรแช่เท้า” ทุกวันที่ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก 60 4,250.00 4,250.00
  1. ประชุมชี้แจง / วางแผนการดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก
  2. ตรวจคัดกรองหาภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก พร้อมทั้งจำแนกระดับของการตรวจประเมินระบบประสาทรับความรู้สึกที่เท้าทั้ง 4 จุด ด้วยวิธีการตรวจเท้า Monofilamint
  3. นำกลุ่มที่เสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงเข้าสู่กิจกรรม “สมุนไพรแช่เท้า” ทุกวันที่ผู้ป่วยเบาหวานมารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก
  4. ทำแบบประเมินความพึงพอใจในการแช่เท้าผู้ป่วยเบาหวาน
  5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทุกๆ เดือน
  6. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวานได้
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะความเสี่ยงของแผลที่เท้าลดลง
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีทักษะในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าของผู้ป่วยได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2562 12:46 น.