กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยรักษ์สะอาด ครั้งที่๑
รหัสโครงการ 63-L5251-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย นัสเซอร์ สายวารี นาย อลิฟ หะยีอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ในแต่ละวันของโรงเรียนตาดีกาฟัตฮูอิสลามี พบว่ามีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันอย่างมากมาย ได้แก่ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กล่องนม เศษอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามีขยะที่มาจากจากผู้ปกครอง และเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ภายในบริเวณ เดียวกัน ด้วยการจัดการที่ยังไม่ดีมากนักทำให้เกิดขยะตั้งกองรวมกันหน้าบ้าน กระจัดกระจายไปทั่ว ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีและไม่น่าดู และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค เช่นยุง หนู แมลงสาป แมลงวัน งู จากการวิเคราะห์พบว่า ร้อยละ 50-60 % ของขยะภายในโรงเรียนตาดีกาฟัตฮูอิสลามี เป็นขยะที่นำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ดังนั้นการคัดแยกขยะจะทำให้โรงเรียน รู้ว่าควรกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างไร จึงเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและงบประมาณหรือขยะเช่นใดบ้างที่ควรนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ การคัดแยกขยะเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อระบบการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และจะสามารถช่วยลดปัญหาขยะริมถนนและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคด้วย โรงเรียนตาดีกาฟัตฮูอิสลามี เล็งเห็นความสำคัญ และต้องการลดปริมาณขยะในโรงเรียน สร้างกระบวนการคัดแยกขยะให้เกิดขึ้นและสามารถป้องกันโรคที่มีสัตว์เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น จากการทิ้งขยะผสมรวมกันอาจทำให้เกิดกลิ่นโรงเรียน เหม็นรบกวนส่งผลให้เด็กไม่มีสมาธิในการจัดการเรียนการสอน ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนไม่น่าดูและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กนักเรียน และสามารถนำขยะที่ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของเด็กและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยนำวัสดุเหลือให้มาประยุกต์ใช้กลับมาเป็นนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์กับการเรียนรู้ของเด็กโดยตรง และเป็นการปลูกฝังโดยเด็กได้คิดเองทำเองใช้เอง ซึ่งจะสร้างองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดขยะในโรงเรียน และยังสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่เด็กตั้งแต่ยังเล็ก การที่เราได้ปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักคิดด้วยตนเองตั้งแต่เด็กให้รู้จักวิธีรักษาตนเอง รู้จักการแก้ปัญหาการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดี มีวินัย ให้กับเด็กตั้งแต่เยาว์วัย และเมื่อสิ่งที่เขาทำเป็นตัวอย่างที่ดีจะเป็นการสร้างประโยชน์กับตนเองและชุมชนในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้นักเรียน และ เยาวชนมีความรู้ รู้จักการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องได้ด้วยตัวเอง

เด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกาฟัตฮูอิสลามี มีความรู้ สามารถแยกขยะได้ถูกต้อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 (ประเมินผลจากแบบทดสอบก่อน – หลังเข้ารับการอบรม)

0.00
2 ข้อที่ 2.ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ และพาหะนำโรคในโรงเรียน
  • จำนวนขยะในโรงเรียนลดลง ร้อยละ 60
  • ไม่มีเด็กเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออก , โรคฉี่หนู ,โรคในระบบทางเดินหายใจ ,โรคทางเดินอาหาร
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,900.00 0 0.00
1 ธ.ค. 62 - 31 ส.ค. 63 1.กิจกรรมอบรมการคัดแยกขยะในนักเรียน 0 19,900.00 -
1 ธ.ค. 62 - 31 ส.ค. 63 2.กิจกรรมปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคต่างๆ เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ 0 0.00 -
  1. ประชุมคณะครูผู้รับผิดชอบ และ คณะกรรมการมัสยิด เพื่อชี้แจงรายละเอียด
  2. แต่งตั้งคณะทำงานและแบ่งงานผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
  3. จัดกิจกรรมอบรมการคัดแยกขยะในนักเรียน   4. การดำเนินกิจกรรมตลอดปีการศึกษา (ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง) รายละเอียดดังนี้
    • กิจกรรมปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคต่างๆ เป็นประจำทุกวันอาทิตย์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
  2. ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ และพาหะนำโรคในโรงเรียน ส่งผลให้ลดการเกิดโรคระบาดต่างๆในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2562 13:34 น.