กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
รหัสโครงการ 60-L7885-1-93
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 74,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คุณระเบียบ ชอบเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยนั้น ยังเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาตลอดและความครอบคลุมเกลือไอโอดีนที่ได้มาตรฐานระดับครัวเรือนถึงแม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกยังอยู่ระดับที่ไม่น่าไว้วางใจ จึงยังต้องเพิ่มยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานและต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องให้ประชากรในพื้นที่ได้รับสารไอโอดีนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ เป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะปัญญาอ่อนซึ่งป้องกันได้พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนอายุ๒-๓ ปี โดยมี ผลลดความเฉลียวฉลาด หรือไอคิวของเด็กได้ถึง ๑๐-๑๕ จุด ซึ่งจะมีผลกระทบ ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้ กลายเป็นเด็กเอ๋อ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีน จะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอก เพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองทารกที่อยู่ในครรภ์ ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มจำนวนและขนาดเซลล์สมอง และช่วยสร้างโครงข่ายใยประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกัน สร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่อง ส่วนในวัยผู้ใหญ่ หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชา ประสิทธิภาพการทำงานลดลง นอกจากนี้ยังมีการสำรวจการครอบคลุมกระจายเกลือเสริมไอโอดีนระดับครัวเรือน พบการครอบคลุมกระจายเกลือเสริมไอโอดีนในระดับครัวเรือนเพียงร้อยละ ๘๐ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ร้อยละ ๙๐
เนื่องจากภาวะโรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพและระดับสติปัญญาของเด็กในอนาคต จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขและเพื่อเถิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในวโรกาสที่ทรงพระชนมายุครบ๖๐ พรรษาดังนั้นเทศบาลเมืองนราธิวาสจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนอันจะส่งผลให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพที่ดีปลอดภัยจากโรค และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนและสามารถรู้จักวิธีปฏิบัติตนและป้องกันเพื่อให้เสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีนน้อยที่สุด

 

2 2. ลดอัตราการเกิดภาวะขาดสารไอโอดีน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ ๑. จัดทำแผนงาน/โครงการ ๒. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขอรับการอนุมัติ ๓. ประชุมชี้แจง และเตรียมความพร้อมทีมงานในการดำเนินการ ๔. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคขาดไอโอดีนในโรงเรียน 16 โรง ชุมชน 35 ชุมชน และเทศบาลเมืองนราธิวาส ๕. ประเมินผลโครงการ/สรุปและรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนพร้อมวิธีป้องกันตนเองได้ถูกต้องร้อยละ 90 ๒. ประชาชนมีและใช้เกลือเสริมไอโอดีนร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 14:20 น.