กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ทอม


“ โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ทอม ประจำปี 2563 ”

ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางซ่อนกลิ่น สุวรรณะ

ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ทอม ประจำปี 2563

ที่อยู่ ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5212-2-09 เลขที่ข้อตกลง 9/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ทอม ประจำปี 2563 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ทอม ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ทอม ประจำปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ทอม ประจำปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L5212-2-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 9,150.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ทอม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเองและเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านชุมชน มาเป็นระยะเวลาครบ 30ปี ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริงกระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤติและภาวะปกติ ในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติ งานของ อสม.ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพชมรม อสมหมู่ที่ 6.ตำบลแม่ทอม จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. 2 .เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ได้รับการพัฒนาทักษะการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ได้อย่างเข้มแข็ง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรม อบรม ให้ความรู้อสม. และฝึกปฎิบัติ
  2. กิจกรรมให้บริการประชาชนในการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 12
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 521
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อสม มีความรู้และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และนำความรู้ไปปฏิบัติได้อย่างเข้มแข็ง และถูกต้อง

    2.ประชาชนได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรม อบรม ให้ความรู้อสม. และฝึกปฎิบัติ

วันที่ 3 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข และการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริการสาธารณสุขและการป้องกันโรค และสามารถสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการตรวจคัดกรองเบื้องต้นในหมู่บ้านได้

 

12 0

2. กิจกรรมให้บริการประชาชนในการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น

วันที่ 5 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

การให้บริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น และทำให้ทราบข้อมูลประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ได้รับการตรวจคัดกรองได้รู้จักวิธีการปฏิบัติต้นเบื้องต้นในการป้องกันโรค

 

521 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ตามตารางการอบรม และการฝึกการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต การเจาะน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วที่ถูกต้อง รวมทั้งการทดสอบคุณภาพ มาตรฐานของเครื่องด้วยตนเอง และวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานและมีสามารถตรวจ อ่านค่า ของผู้ป่วยได้แม่นยำ ผู้เข้ารับการอบรม ทั้งสิ้น  12 คน พบว่ามีความรู้ในเรื่องที่อบรม เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปปฎิบัติได้ร้อยละ 100

2.อสม.ให้บริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยคัดกรองในกลุ่มเป้าหมาย ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป(ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย) ผลการคัดกรองดังนี้

  คัดกรองโรคเบาหวาน ในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป (ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย) คิดเป็นร้อยละ 98.25

  คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป (ที่ไม่ใช่ผู้ป่วย) คิดเป็นร้อยละ 99.31

3.อสม.ให้บริการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน ให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองโรค รวมทั้งการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มป่วยต่อไป

4.อสม.ให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปฎิบัติตัวให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้อย่างถูกต้อง

5.จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2เครื่อง เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เข็มเจาะปลายนิ้ว เพื่อใช้ในการดำเนินงานและทดแทนเครื่องที่ชำรุด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : อสม.ทุกคนมีความรู้และทักษะด้านวิชาการตามหลักสูตรการอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2550
12.00 12.00

 

2 2 .เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ได้รับการพัฒนาทักษะการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ได้อย่างเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : อสม.ทุกคน สามารถให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งแจ้งผลการคัดกรองและแนะนำการปฎิบัติตัวแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง
50.00 521.00 55.00

จำนวน 55 คนมาจากคนที่อายุ35ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรอง จากทั้งหมด 256คนในส่วนเป้าหมายที่เหลือได้มีการประสัมพันธ์ให้ความรู้ตามครัวเรือน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 533 67
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 12 12
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 521 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) 2 .เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ได้รับการพัฒนาทักษะการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ได้อย่างเข้มแข็ง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรม อบรม ให้ความรู้อสม. และฝึกปฎิบัติ (2) กิจกรรมให้บริการประชาชนในการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ทอม ประจำปี 2563 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5212-2-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางซ่อนกลิ่น สุวรรณะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด