โครงการ กำจัดเหานักเรียนด้วยสมุนไพร ปี 60
ชื่อโครงการ | โครงการ กำจัดเหานักเรียนด้วยสมุนไพร ปี 60 |
รหัสโครงการ | 60-L6961-01-9 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานแพทย์แผนไทย รพ.สุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 40,020.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มงานแพทย์แผนไทย รพ.สุไหงโก-ลก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.008,101.949place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 371 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากความไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอนเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไปและยังทำให้สุขภาพไม่ดี เสียสมาธิในการ เรียน ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากคันหนังศีรษะ จากสำรวจสุขภาพ 10 ท่า ของผู้นำนักเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพ พบว่ามีนักเรียนหญิง จำนวน 371 คน จาก 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1-4 โรงเรียน บ้านสุไหงโก-ลก โรงเรียนผดุงวิทย์ โรงเรียนบุญยลาภนฤมิต โรงเรียนรังผึ้ง โรงเรียนสุชาดา + โรงเรียนเกษมทรัพย์ ที่ทางโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกรับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าใบน้อยหน่าสามารถกำจัดเหาได้ดีมาก โดยไม่เป็นอันตรายและไม่มีอาการแพ้เหมือนใช้สาร เคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ มาใช้ในการกำจัดเหา และอีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จักใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรท้องถิ่น ในการรักษาเด็กที่เป็นเหาและป้องกันโรคเหาลดการระบาดต่อไป กลุ่มงานการ แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก โดยการร่วมมือกับงานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลสุไหงโก-ลก เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง
|
||
2 | 2.เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์
|
||
3 | 3.เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่
|
||
4 | 4.เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์
|
||
5 | 5.เพื่อลดการระคายเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหา แทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน (BB)
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำยากำจัดเหาภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.กำจัดเหาในเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยการนำน้ำยาสกัดใบน้อยหน่า ที่เตรียมไว้สระผมให้ทั่วแล้วสวมหมวกพลาสติกหมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงล้างออกฟอกด้วยยาสระผมอีกครั้ง ใช้หวีเสนียดสางเอาตัวและไข่เหา ออก ข้อควรระวังอย่าให้น้ำน้อยหน่าเข้าตา เพราะจะทำให้แสบตา ทำเช่นนี้ทุกวัน ติดต่อกัน 3 วัน 3.สาธิตการทำน้ำยากำจัดเหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่เข้าร่วมอบรม 4.ให้ความรู้และคำแนะนำทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลรักษาความสะอาด ที่อยู่อาศัย ผ้าห่ม หมอน ที่นอน ผ้าเช็ดตัว การสระผมและการทำความสะอาดร่างกาย การใช้เครื่องใช้แยกกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว หวี เป็นต้น 5.ออกตรวจเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองช่วยสังเกตและมีส่วนร่วมในการดูแลพฤติกรรมการรักษาความสะอาดตนเองที่บ้านและให้หายจากโรคเหา 6.ครูประจำชั้นและครูผู้รับผิดชอบอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการรักษาความสะอาดของเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งนักเรียนปลอดเหาและไม่กลับมาเป็นอีก 7.สำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการเรื่องนี้ และประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกัน และกำจัดเหาของนักเรียน
1.ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง 2.ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถนำสมุนไพรท้องถิ่นมาใช้กับนักเรียนในการกำจัดเหาได้ 3.ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 14:35 น.