โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมปี 2560 |
รหัสโครงการ | 11/2560 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเชี่ยว |
วันที่อนุมัติ | 2 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 40,144.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางละมัยคงสวัสดิ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 148 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังมีจำนวนมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง ถึงแม้หลายๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพก็ตามทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อยทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์และทีมงานเป็นหลักแต่ในความเป้็นจริงการที่สามารถให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังMetabolic ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเชี่ยว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วม ขึ้นเพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันกลุ่มผุู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง
|
||
2 | 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
|
||
3 | 3. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ความสามารถ ในการช่วยดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้จริง
|
||
4 | 4. เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการตรวจสุขภาพประจำปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (เจาะ Lab ประจำปีในผู้ป่วย)
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข
- ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย ในเขตรับผิดชอบ
- จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมายและทะเบียนแยกผุู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตไม่ได้
- จัดค่ายเพื่อช่วยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคแบบมีส่วนร่วมผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- กิจกรรมเจาะ Lab ประจำปีในผุู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- กิจกรรมจับคู่บัดดี้ในการลงเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
- กิจกรรมนวดกดจุดลดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
- กิจกรรมดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยสมุนไพร
- สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง
- ผู้ป่วย และอสม. มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง Metbolic ได้อย่างถูกต้อง
- อสม.สามารถช่วยดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสม
- ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพประจำปี (เจาะ Lab ประจำปีในผู้ป่วย)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 14:35 น.