โครงการ อสม. ร่วมใจคัดกรอง/ติดตามกลุ่มเสี่ยงและดูแลกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชนตำบลพิจิตร ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการ อสม. ร่วมใจคัดกรอง/ติดตามกลุ่มเสี่ยงและดูแลกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชนตำบลพิจิตร ปี 2560 |
รหัสโครงการ | L5208-27-2560 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนพิจิตร |
วันที่อนุมัติ | 8 มีนาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 37,075.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพิชชาภาสุวรรณะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.991,100.561place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 87 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งจากภายนอกและภายในประเทศไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ และภาวะสุขภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น จากปัจจัยต่างๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่มชา กาแฟ ความเคียด เป็นต้น ประชาชนในเขตรับผิดชอบตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลาพบว่ามีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1,471ต่อประชากรแสนคนหรือคิดเป็นร้อยละ 20.66 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปและมีอัตราป่วยด้วย โรคเบาหวาน 376 ต่อประชากรแสนคนหรือคิดเป็นร้อยละ 5.28 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคความอันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีรสเค้ม ไขมันและน้ำตาลสูง น้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นต้น อีกทั้งยังขาดการตื่นตัว ขาดความตระหนัก ขาดความรู้ ขาดทักษะและการเข้าถึงบริการที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้น การป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค ศูนย์สุขภาพชุมชนพิจิตรและชมรม อสม. ตำบลพิจิตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ อสม. ตำบลพิจิตร เฝ้าระวังโรคเบาหวานและภาะความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของการเจ็บป่วย อันจะเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดนโบบายและในการควบคุมป้องกัน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมทั้งประชาชนในกลุ่มเสี่ยงได้เกิดทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการ ขออนุมัติโครงการ 2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงาน 3. เตรียมความพร้อมการจัดอบรมฟื้นฟูเชิงปฎิบัติการการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตให้ อสม. ตำบลพิจิตร ดังนี้ -ประสานวิทยากรให้ความรู้ -การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดและการแปลผล -การวัดความดันโลหิตและการแปลผล -การวัดรอบเอวและการแปลผล -การใช้แบบรายงานและการเฝ้าระวังติดตาม ขั้นดำเนินการ -จัดอบรมฟื้นฟูเชิงปฎิบัติการให้กับ อสม.ตำบลพิจิตร ในการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต การตรวจวัดรอบเอว การชั่งน้ำหนัก การแปลผลในประชากรกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล -อสม.เคาะประตูบ้านคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบแปลผลให้ผู้รับบริการทราบ ให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการและบันทึกผลตามแบบรายงานส่งให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์สุขภาพชุมชนพิจิตรประจำหมู่บ้านเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนติดตามกลุ่มเสี่ยง -ติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงโดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์สุขภาพชุมชนพิจิตรประจำหมู่บ้าน -ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่สงสัยเป็นโรค -ติดตามกลุ่มป่วยที่รับการรักษาอยู่ว่ารับยาต่อเนื่องหรือไม่โดย อสม. สำรวจในเขตรับผิดชอบของตนเอง (สำรวจพร้อมกลุ่มคัดกรอง)
- ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงและสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา
- กลุ่มเสียงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคและได้รับการตรวจติดตาม
- กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการดูแลให้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะไตวาย เป็นต้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 14:43 น.