กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชารัฐร่วมใจ เมืองสะอาดปลอดขยะ ไร้รังโรค
รหัสโครงการ 60-L7885-1-94
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัซอารี ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 225 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่๒๐กันยายน๒๕๕๙เห็นชอบแผนปฏิบัติการ“ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ ๑ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙–๒๕๖๐)ซึ่งแผนปฏิบัติการฯดังกล่าวเป็น-แนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะในระยะสั้นของหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการลดขยะที่ต้นทางเพื่อเป็นการวางรากฐานการดำเนินการการจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ในระยะ๑ปี(พ.ศ. ๒๕๕๙–๒๕๖๐)ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศพ.ศ.๒๕๕๙– ๒๕๖๔นั้นเป็นแนวทางเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ซึ่งวางอยู่บนแนวคิด3Rs – ประชารัฐคือการส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทางซึ่งเป็นการจัดการที่ยั่งยืนคือการลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นทาง (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปขยะซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะในภาพรวมทั้งประเทศลดลงทำให้ปริมาณขยะที่จะต้องเข้าสู่ระบบการกำจัดลดลงและมีการกำจัดที่ถูกวิธีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยตามแนวคิดเรื่อง“ประชารัฐ” คือการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาได้แก่ภาครัฐภาคเอกชนภาคประชาชนประชาสังคมภาคการศึกษาและภาคการศาสนาเป็นต้น เทศบาลเมืองนราธิวาส กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งานเผยแพร่และฝึกอบรม จึงจัดทำ โครงการประชารัฐร่วมใจ เมืองสะอาด ปลอดขยะ ไร้รังโรคเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมตาม Roadmap การสร้างวินัยของคนในชาติในเรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายและรณรงค์สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันทำให้เมืองนราเป็นเมืองสะอาดมีวินัยในการบริหารจัดการขยะทั้งระบบไปสู่การเป็นเมืองปลอดขยะและสังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขับเคลื่อนดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ"ประเทศไทย ไร้ขยะ"

 

2 เพื่อสร้างความตระหนัก และความร่วมมือจากภาคประชาชน ราชการ เอกชน สถานศึกษาและภาคศาสนาในการพัฒนาเมืองให้สะอาดน่าอยู๋

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อขับเคลื่อนดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ"ประเทศไทย ไร้ขยะ"

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างความตระหนัก และความร่วมมือจากภาคประชาชน ราชการ เอกชน สถานศึกษาและภาคศาสนาในการพัฒนาเมืองให้สะอาดน่าอยู๋

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑.จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองนราธิวาส       ๒.จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ในการดำเนินงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ และสปอต์เสียง       ๓. จัดประชุม /ชี้แจง/อบรม ดังนี้         ๓.๑ จัดประชุมคณะทำงานจังหวัดสะอาด ระดับเทศบาล เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน และจัดทำเกณท์ชี้วัดชุมชนสะอาด
        ๓.๒.จัดอบรมให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตามหลัก๓ช.  แก่ พนักงานเทศบาล ประชาชนทั่วไป ผู้นำศาสนา และผู้ประกอบการเอกชน
        ๓.๓ จัดอบรมและขึ้นทะเบียนผู้คัดแยกขยะมูลฝอยรายย่อย เช่น ซาเล้ง ผู้รับซื้อของเก่า       ๔. จัดกิจกรรมส่งเสริมและรณรงค์ การคัดแยกขยะ เช่นตลาดนัดขยะรีไซเคิล มีนัดกับซาเล้ง    นัดหมายเวลาทิ้งขยะ บิกคลีนนิ่งเดย์ ชุมชนปลอดถังขยะ
๕. จัดประกวดชุมชนสะอาด ๖. สรุปและประเมินผล ระยะเวลาดำเนินงาน       พฤษภาคม-กันยายน๒๕๖๐

ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองนราธิวาสเป็นเงิน ๖๗,๖๒๕.–บาท รายละเอียดดังนี้     ๑.จัดประชุม /ชี้แจง/อบรม ดังนี้       ๑.๑ จัดประชุมคณะทำงานจังหวัดสะอาด ระดับเทศบาล เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน และจัดทำเกณท์ชี้วัดชุมชนสะอาด
    - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม    ๖๕ คน/ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑,๖๒๕.- บาท ๑.๒ จัดอบรมให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตามหลัก ๓ ช. แก่ พนักงานเทศบาล ประชาชนทั่วไป ผุ้นำศาสนา และผู้ประกอบการเอกชน
    - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๒๕บาท/๒ มื้อ/๒๒๕ คนเป็นเงิน ๑๑,๒๕๐.- บาท     - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บาท/๒๒๕คนเป็นเงิน ๑๑,๒๕๐.- บาท         - ค่าตอบแทนวิทยากร ๕ ชม/๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๓,๐๐๐.- บาท       ๑.๓ จัดอบรมและขึ้นทะเบียนผู้คัดแยกขยะมูลฝอยรายย่อย เช่น ซาเล้ง ผู้รับซื้อของเก่า         - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม ๒๕บาท๒ มื้อ /๑๒๕ คน เป็นเงิน ๖,๒๕๐.- บาท         - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บาท /๑๒๕ คน เป็นเงิน ๖,๒๕๐.- บาท         - ค่าตอบแทนวิทยากร ๕ ชม / ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐.- บาท       ๒. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ และสปอต์เสียง
        - ค่าจัดทำป้ายไวนิล  ขนาด 320 x 125 ซม.จำนวน ๖ แผ่นๆละ ๑,๒๐๐.- บาท                                             รวมเป็นเงิน ๗,๒๐๐.- บาท     -ค่าจัดทำสติกเกอร์ติดบนรถเก็บขยะ ขนาด ๙๐ x ๑๑๐ ซม. จำนวน ๑๖ แผ่นๆละ ๕๐๐ บาท
                                        รวมเป็นเงิน ๘,๐๐๐.- บาท         -ค่าจัดทำแผ่นพับ ขนาดกระดาษ เอ ๔ อาร์ตมัน จำนวน ๔๐๐ แผ่นๆละ ๒๒ บาท                                             รวมเป็นเงิน ๘,๘๐๐.-บาท         -ค่าจัดทำสปอต์เสียง  จำนวน ๒ เรื่องๆละ ๕๐๐ บาท    รวมเป็นเงิน ๑,๐๐๐.-บาท                             (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ย)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนชุมชนหน่วยงานองค์กรในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองนราธิวาสมีส่วนร่วมมีจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายมากขึ้น         ๒.ขยะมูลฝอยในครัวเรือนชุมชนและพื้นที่สาธารณะมีปริมาณลดลง         ๓.สภาพแวดล้อมของเมืองนราธิวาสดีขึ้นและประชาชนในพื้นที่ข้างเคียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 14:54 น.