โครงการคนกระดังงาร่วมใจต้านภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการคนกระดังงาร่วมใจต้านภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5234-1-001 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา |
วันที่อนุมัติ | 12 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 72,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมิหล๊ะ สุระคำแหง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.509,100.427place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 4200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลและกระทบต่อความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจต่อครอบครัวและระดับประเทศจากการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องต่อก็ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปี 2560-2562 มีผู้ป่วย จำนวน 5,515, 2,826 และ 2,373 ราตาย ยตามลำดับ และมีผู้ป่วยตายจำนวน 11, 5 และ 2 ราย ตามลำดับ พบว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกประจำทุกปีและการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลกระดังงามีการระบาดเช่นเดียวกันกับระดับจังหวัดดังนี้ปี 2560-2562 มีผู้ป่วย จำนวน 17, 2 และ 7 รายคิดอัตราป่วย 339.25, 47.76 และ 166.67 ต่อแสนประชากร ตามลำดับไม่มีผู้ป่วย พบว่่ามีการระบาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจะมีการระบาดปีเว้นปี ดังนั้นจะต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง จากสถิติจะเห็นว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นทุกปีและมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกปีเว้นปี ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงาจึงต้องทำโครงการคนกระดังงาร่วมใจต้านภัยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชนจึงจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคและเมื่อเกิดโรคสามารถควบคุมโรคได้ทันท่วงทีไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในชุมชนตระหนัก ร่วมมือและมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.เพื่อให้จิตอาสามีความรู้ความเข้าใจการพ่นหมอกควัน 4.เพื่อให้อัตราป่วยลดลงร้อยละ 21 จากค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี 1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกหลังคาเรือน 2.ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนทุกหลังคาเรือนและทุกภาคส่วนในชุมชนตะหนักร่วมมือและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4.จิตอาสาทุกคนสามารถพ่นหมอกควันและดูแลรักษาเครื่องพ่นหมอกควันได้ถูกต้อง 5.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 21 เมื่อเปรียบเทียบกับค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี 6.ค่าHI น้อยกว่า 11 CI=1 |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน โดยการแจกแผ่นพับ หอกระจายข่าว และรถประชาสัมพันธ์จิตอาสา 2.รับสมัครอาสาสมัครพ่นหมอกควันหมู่ละ 2 คน จำนวน 14 คน 3.อบรมปฏิบัติการพ่นหมอกควันและการดูแลเครื่องพ่นหมอกควันแก่อาสาสมัครพ่นหมอกควันและเจ้าหน้าที่ 4.สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบล แขวงการทางทุก 1 เดือน 5.ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต.ผู้นำศาสนาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกับ อสม.ตำบลกระดังงาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรคชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. แขวงการทางโดยกำจัดขยะ คว่ำภาชนะ และการใส่ทรายเทมีฟอส ทุกเดือน 6.แจกพันธุ์ปลากินลูกน้ำและมีธนาคารปลากินลูกน้ำบ้าน อสม.หมู่ละ 2 หลัง 7.พ่นหมอกควันในโรงเรียนประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ช่วงก่อนเปิดภาคเรียน 8.กรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก -พ่นหมอกควัน -ฉีดสเปรย์กำจัดยุง -ทาโลชั่นกันยุง 9.สรุปผลโครงการ
1.ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลกระดังงา 2.HI ไม่เกิน 11 3.CI เท่ากับ 1
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 11:28 น.