โครงการอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5234-2-006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกระดังงา |
วันที่อนุมัติ | 12 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มิถุนายน 2563 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุรัสสา เพชรนุ่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.509,100.427place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง พบว่าคนไทยมีเพียง 1 ล้านคนเท่านั้นที่ีมีการออกสำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 ของภาควิชาโภชนวิทยาคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชา เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 29,290 บาท พบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.77 และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ ดังนั้นครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 20-30 โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ก็ลดลงมากเช่นกัน ทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย นอกจากโรคที่กล่าวแล้วยังมีโรคภัยต่างๆ ทั้งโรคติดต่อที่เกิดกับประชาชนในช่วงฤดูกาลต่างๆ แม้กระทั่งภัยสุขภาพด้านอื่นก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชาทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและสามารถถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้ 1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ร้อยละ 70 2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและสามารถถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้ ร้อยละ 60 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชุมคณะกรรมการชมรม อสม. 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.ดำเนินการอบรมให้ความรู้ด้านสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.กระดังงา -ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม -อบรมให้ความรู้เรื่อง -โรคมือ เท้า ปาก -โรคมะเร็ง - 3 อ. 2 ส. -โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน -โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือด -โรคไข้เลือดออก -โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 4.ติดตามหลังการอบรม 5.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับครอบครัว ชุมชนและสามารถพัฒนาสู่ชุมชนสุขภาพดีได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 16:18 น.