กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เรื่องอาหารเช้าและโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลระโนด
รหัสโครงการ 63-L5226-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลระโนด
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 ธันวาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 7,605.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริรัตน์ สุวรรณชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางจังคนิภา บุญศรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.754,100.325place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ธ.ค. 2562 31 มี.ค. 2563 7,605.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 7,605.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขถึงฉบับปัจจุบันและพระราชบัญญัติ กำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้เทศบาลมีหน้าที่จัดการศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขถึงฉบับปัจจุบัน มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ 1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3. การพัฒนาสาระและกระบวนการการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานที่ 2 ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ ตัวบ่งชี้ย่อย 2.2.1 ให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป รับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ และส่งเสริมพฟติกรรมการกินที่เหมาะสม ตัวบ่งชี้ย่อย 2.2.4 เฝ่าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคล บันทึกผลภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 3 คุณภาพของเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ข เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัยและมีสุขนิสัยที่เหมาะสม ตัวบ่งชี้ย่อย 3.1.1 ข เด็กมีน้ำหนักตัวเหมาะสมและสูงดีสมส่วน ซึ่งมีบันทึกเป็นรายบุคคล การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัย อาหารจึงนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์โดยเฉพาะเด็ก ซึ่งเป็นช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโต ถ้าเด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จะทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของร่างกาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกอาหารและการปรุงอาหารเช้าที่มีประโยชน์กับนักเรียนได้
  1. ร้อยละ 85 ครูและผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลระโนดมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้เด็ก ๆ ได้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมกับช่วงวัย
  1. ร้อยละ 85 ครูและผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลระโนด มีความสามารถในการปรุงอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็กได้
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดีและสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค
  1. ร้อยละ 85 นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลระโนดได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ถูกหลักอนามัยและสุขภาพร่างกายที่ดี และสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 41 7,605.00 0 0.00 7,605.00
23 ธ.ค. 62 - 31 มี.ค. 63 จัดประชุมให้ความรู้โดยการเชิญวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องอาหารเช้าและโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก สุขอนาัยในแต่ละช่วงวัย อาหารที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวัย การเลือกซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหาร การปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การสาธิตการทำอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 41 7,605.00 - -
รวมทั้งสิ้น 41 7,605.00 0 0.00 7,605.00
  1. วางแผนและเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติกับผู้บริหารและวางแผนการดำเนินการ
  4. ดำเนินงานตามโครงการ   4.1 เชิญวิทยากรให้ความรู้   4.2 การสาธิตการจัดเตรียมอาหารเช้า
  5. ติดตามผลและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูและผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
  2. ผู้ปกครองสามารถปรุงอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักอนามัย
  3. นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมกับช่วงวัย
  4. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่ดี และสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2562 10:22 น.