กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมความรู้เพื่อเด็กปลอดโรค ปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลควนเนียง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา และนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นช่วงวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากระบบภูมิคุ้นกันโรคยังไม่สมบูรณ์ เด็กในวัยนี้จึงอาจป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย ทั้งโรคไข้หวัด โรคมือเท้าปาก ตาแดง อุจจาระร่วง และรวมไปถึงโรคไข้เลือดออกซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและ สุขภาพโดยรวมของเด็ก ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดูแลรักษา และการปิดโรงเรียนซึ่ง มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนของเด็กนักเรียนอื่นๆ ข้อมูลงานระบาดวิทยาของอำเภอควนเนียง พบว่ามีเด็กที่ป่วยด้วยโรคมือเท้าปากเป็นประจำทุกปี กล่าวคือ ปี 2558 มีเด็กที่ป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปาก จำนวน 16 ราย คิดอัตราป่วยเป็น 47.03 ต่อแสนประชากร และปี 2559 จำนวน 16 ราย คิดอัตราป่วยเป็น 46.28 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2560 (ม.ค.-ก.พ. 2560) จำนวน 4 ราย คิดอัตราป่วยเป็น 11.57 ต่อแสนประชากร เป็นผลให้ต้องมีการปิดโรงเรียน เพื่อการควบคุมโรค นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่ออื่นๆ เช่น ตาแดง อุจจาระร่วง และไข้เลือดออกร่วมด้วย
โรคติดต่อที่มีการระบาดเกิดขึ้นได้ทั้งจากการติดต่อโดยตรงและทางอ้อม ทั้งจากการสัมผัสโดยตรงผ่านการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ ดูดนิ้ว เลียนิ้วมือต่างๆ หรือการติดต่อทางอ้อมผ่านทางสิ่งของหรือของเล่น การสัมผัสพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ทั้งนี้การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการดูแลตนเองในการควบคุมป้องกันโรคของบุคลากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ย่อมมีส่วนในการป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคได้ ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเนียง ร่วมกับ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมความรู้เพื่อเด็กปลอดโรค ปลอดภัยเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถจัดการดูแลเพื่อควบคุมโรคระบาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู และเจ้าหน้าที่ในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาล

 

2 2. เพื่อลดอัตราป่วยของการเกิดโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลได้

 

3 ๓. เพื่อให้ครู และเจ้าหน้าที่ในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลสามารถบริหารจัดการเมื่อเกิดการระบาดของโรคในศูนย์เด็กเล็กได้

 

4 4. เพื่อให้ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลเป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการเตรียมงาน/การวางแผนจัดกิจกรรม ๑.สำรวจข้อมูลด้านการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลในเขตเทศบาลตำบลควนเนียง จังหวัดสงขลา ๒.จัดทำโครงการและขออนุมัติ ๓.ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๔.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕.เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ ระยะเวลา1 ก.พ.60 ผู้รับผิดชอบ ประธานโครงการและที่ปรึกษาโครงการ 2 เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณวันที่ 8 ก.พ.60 ผู้รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการ
3 ขั้นตอนการดำเนินโครงการ ๑.ลงพื้นที่ ตรวจสุขภาพเด็กภายในโรงเรียน ๒.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค มือ เท้า ปาก ในผู้ปกครอง ครู และบุคลากร ของศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลควนเนียงและโรงเรียนอนุบาล ๓. เฝ้าระวังการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ภายในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลควนเนียง/โรงเรียนอนุบาล
วันที่ 15 ก.พ.60เป็นต้นไป ผู้รับผิดชอบ ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมโครงการ
4 ผู้รับผิดชอบประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ ทำสถิติเบื้องต้นวันที่ 15ก.ย. 60 ผู้รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการ
5. ขั้นการประเมินผลโครงการ ๑.ประเมินความรู้ก่อน-หลังจากทำโครงการ ๒.ติดตามเฝ้าระวังการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ภายในศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลควนเนียง/โรงเรียนอนุบาล
3. ติดตามการปฏิบัติกิจกรรมในการควบคุมโรคของครูเมื่อเกิดการระบาดของโรคติดต่อ
4.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
วันที่ 15 ก.ย. 60 ผู้รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการและที่ปรึกษาโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดอุบัติการณ์โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กน้อยลงและศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลสามารถควบคุมการระบาดของโรคติดต่อต่างๆ ได้เมื่อเกิดการระบาด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2560 13:40 น.