กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะแบบครบวงจร
รหัสโครงการ 63-L-5171-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานปลัด
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.เสาวลักษณ์ ขุนเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมที่แปรเปลี่ยนไป บ้านเรือน ชุมชน เพิ่มจำนวนขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยจากการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งปริมาณขยะมูลฝอยเหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้หากขาดการจัดการเรื่องสุขาภิบาลในครัวเรือน ควบคู่กับการจัดสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครัวเรือนทั้งด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจ อีกทั้งจะส่งผลให้ชุมชนขาดความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดแหล่งสะสมเชื้อโรค และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำและอาหารเป็นสื่อ และสารพิษจากขยะที่เป็นสารเคมีเกิดการตกค้างสู่ผิวดินและแหล่งน้ำสาธารณะ การเพิ่มขึ้นของขยะและไม่มีการจัดการขยะครัวเรือนก่อนทิ้ง จะก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบสาธารณสุขของชุมชนตามมาได้ ปัจจุบันพื้นที่ตำบลบางเหรียง มีปริมาณขยะเกิดขึ้น ประมาณ 10 ตันต่อวัน ประกอบด้วยขยะอันตราย ร้อยละ 0.26 ขยะรีไซเคิลร้อยละ 40.56 ขยะทั่วไปร้อยละ 4.34 และขยะอินทรีย์ร้อยละ 54.84 และในปี 2562 เทศบาลตำบลบางเหรียงได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การรณรงค์การคัดแยกขยะและการนำไปใช้ประโยชน์ กิจกรรมBig cleaning ในบริเวณถนนเส้นทางสายหลักในตำบลร่วมกับสถานศึกษา อถล. อสม. และประชาชนทั่วไป การมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในการร่วมกันจัดการขยะ การส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ การกำหนดจุดรองรับขยะอันตราย กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปริมาณขยะในตำบลบางเหรียงลดลงอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะครัวเรือน และจัดการขยะในชุมชน  จึงได้จัดโครงการจัดการขยะแบบครบวงจร โดยตระหนักถึงความสำคัญของการลดปริมาณขยะในชุมชนให้น้อยลง และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้หลักการและวิธีการในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะครัวเรือนให้แก่ประชาชนในตำบลบางเหรียง

ประชาชนในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการจัดการขยะครัวเรือน ร้อยละ 80 (ประเมินจากแบบสอบถาม)

0.00
2 เพื่อติดตามการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยระบบถังขยะไม่มีวันเต็ม

ติดตามการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยระบบถังขยะไม่มีวันเต็มครอบคลุม ร้อยละ 70 ของเป้าหมาย

0.00
3 3 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะรีไซเคิลผ่านกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล

จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลได้ครบร้อยละ 100 ของเป้าหมาย

0.00
4 4 เพื่อสร้างจุดรองรับขยะอันตรายที่ถูกสุขลักษณะใน ชุมชน

มีจุดรองรับขยะอันตรายที่ถูกสุขลักษณะในชุมชนครอบคลุมร้อยละ 80 ของชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 75,000.00 0 0.00
15 พ.ค. 63 1.1 กิจกรรมย่อย การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ 150 3,000.00 -
15 พ.ค. 63 1.2 กิจกรรมย่อย กิจกรรมติดตามการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยระบบถังขยะไม่มีวันเต็ม 0 0.00 -
15 พ.ค. 63 1.3 กิจกรรมย่อย กิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล 0 1,500.00 -
15 พ.ค. 63 1.4 กิจกรรมย่อย กิจกรรมสร้างจุดรองรับขยะอันตรายที่ถูกสุขลักษณะในชุมชน 0 70,500.00 -
  1. เสนอโครงการต่อนายกเทศมนตรีเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมกลุ่มองค์กร และกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. ดำเนินโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้ 3.1 การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ 3.2 กิจกรรมติดตามการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยระบบถังขยะไม่มีวันเต็ม 3.3 กิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล 3.4 กิจกรรมสร้างจุดรองรับขยะอันตรายที่ถูกสุขลักษณะในชุมชน 3.6 ติดตามผลการดำเนินงาน 3.7 ประเมินผลโครงการ
  4. สรุปโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดจิตสำนึกในการจัดการขยะครัวเรือน
  2. เกิดการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยระบบถังขยะไม่มีวันเต็มอย่างต่อเนื่อง
  3. เกิดการจัดการขยะรีไซเคิลในชุมชน
  4. มีจุดรองรับขยะอันตรายที่ถูกสุขลักษณะในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2562 15:40 น.