โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม |
รหัสโครงการ | 63-L3048-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ราตาปันยัง |
วันที่อนุมัติ | 25 พฤศจิกายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2563 |
งบประมาณ | 27,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รพ.สต.ราตาปันยัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | รพ.ยะหริ่ง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลราตาปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.822,101.353place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก ๕,๐๐๐ ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗ คน/วัน เป็น ๑๔ คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือเพียงตรวจทุก ๒ – ๓ ปีเมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง ๓ ครั้ง/๓ ปีติดต่อกัน ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลราตาปันยัง จึงได้จัดทำโครงการสตรียุคใหม่ใส่ ใจมะเร็งขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้นการตรวจ Pap Smear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม และสร้างเสริมสุขภาพคนตำบลราตาปันยัง ห่างไกลโรคด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ๒. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง อย่างน้อย ๓ ปี ๓. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๕ ปี ๔. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี ๕. เพื่อให้นโยบายด้านการสาธารณสุข บรรลุวัตถุประสงค์ตาม แผนพัฒนาที่กำหนดไว้
|
20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 360 | 27,250.00 | 3 | 27,250.00 | 0.00 | |
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 | จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. กสค. กลุ่มเป้าหมาย(ก่อนการดำเนินการ) เพื่อการประชาสัมพันธ์ จำนวน ๑๒๐ คน - ประเมินความรู้หลังการอบรม | 120 | 14,500.00 | ✔ | 14,500.00 | 0.00 | |
23 ก.พ. 64 | ประชาสัมพันธ์ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ | 120 | 1,950.00 | ✔ | 1,950.00 | 0.00 | |
23 ก.พ. 64 | ตรวจค้นหาคัดกรอง | 120 | 10,800.00 | ✔ | 10,800.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 360 | 27,250.00 | 3 | 27,250.00 | 0.00 |
๑.ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน
๒.จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. กสค. กลุ่มเป้าหมาย(ก่อนการดำเนินการ) เพื่อการประชาสัมพันธ์ จำนวน ๑๒๐ คน - ประเมินความรู้หลังการอบรม ๓.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ๔.ประชาสัมพันธ์ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๕.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน (หอกระจายข่าว ป้ายไวนิล,ป้ายประชาสัมพันธ์,เอกสารแผ่นพับ,หนังสือแจ้งถึงเจ้าตัว) ๖.รณรงค์ตรวจค้นหาคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย(อายุ๓๐-๖๐ ปี)ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ - ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน - บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน - ให้สุขศึกษารายบุคคล/กลุ่มเรื่องการป้องกันและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง - ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติ - ติดตามผลและแจ้งผลความผิดปกติให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
๗.บันทึกข้อมูลในโปรแกรมCxS๒๐๑๐ / HCIS ๘.สรุปผลการดำเนินงาน
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
2. กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงความสำคัญ และรับบริการตรวจคัดกรองหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก
3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2562 10:50 น.