โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างกำลังใจ ผู้สูงวัยสุขภาพดี
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างกำลังใจ ผู้สูงวัยสุขภาพดี |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุร.พ.สต.บ้านท่ามะเดื่อ |
วันที่อนุมัติ | 7 มิถุนายน 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายคมกริชแท่นประมูล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวลัยพรด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2560 | 30 ก.ย. 2560 | 14,400.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,400.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขี้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น จำนวนผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจากภาวะนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวและเตรียมการเพิื่อรองรับและให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขี้น จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆด้าน เช่น ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังหรือสังคมให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุน้อยลง ประกอบผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพ ทำให้ผู้สูงอายุที่มีความเปราะบางอยู่แล้วได้รับผลกระทบ ทั้งนี้หากผู้สูงอายุปรับตัว ได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวิตแต่ถ้าไม่พร้อมหรือปรับตัวไม่ได้และไม่ดีพอ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว เหงา ถูกทอดทิ้ง มีความวิตกกังวล ท้อแท้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกคุณค่าในชีวิตลดน้อยลง ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้ายหมายคือต้วผู้สูงอายุเอง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสมาชิกที่อยู่ร่วมในครอบครัวเดียวกัน ให้มีความรู้ความเข้าใจในโดยเฉพาะเรื่องการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลรักษาสุขภาพด้วย การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิตเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง
|
||
2 | 2.เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
|
||
3 | 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีการช่วยเหลือกันในชุมชน
|
||
4 | 4.เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 14,400.00 | 1 | 14,400.00 | 0.00 | |
24 มี.ค. 63 | โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างกำลังใจ ผู้สูงวัยสุขภาพดี | 50 | 14,400.00 | ✔ | 14,400.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 50 | 14,400.00 | 1 | 14,400.00 | 0.00 |
1.ประชุมคณะกรรมการชมรมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.บางแก้ว 3.การดำเนินงาน 3.1ประชาสัมพันธ์โครงการ/รับสมัครสมาชิกใหม่ 3.2คัดเลือกแกนนำผู้สูงอายุด้านส่งเสริมสุขภาพจิต จำนวน 50 คน โดยคัดเลือกจากผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีจิตอาสา เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงในชุมชน โดยแบ่งกลุ่มสมาชิกในการดูแลช่วยเหลือกันตามละแวกบ้านและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน 3.3อบรมแกนนำผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต จำนวน 50 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 50 คน เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพจิต การคัดกรองและเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต ทักษะคลายเครียดสมาธิ 3.4ส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ -จัดกิจกรรมพบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ เดือนละ 1 ครั้ง (3อ.2ส.) -ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ โดยบุคลากรสาธารณสุข อสม.และแกนนำผู้สูงอายุ -กิจกรรมปฏิบัติธรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เข้าวัดฟังธรรมเดือนละ 1 ครั้ง 3.5กิจกรรมเยี่ยมบ้าน โดยกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุกับบุคลากรสาธารณสุขติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้านและติดเตียง 3.6ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มแกนนำและคณะทำงานเพื่อคืนข้อมูลและร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมในการนำไปใช้ในการดำเนินงานต่อไป 4.สรุปผลการดำเนินการโครงการ
1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบี้องต้นได้ 2.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุข 4.ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรูประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนสมาชิก 5.เครือข่ายสุขภาพในชุมขนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 6.ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2560 14:39 น.