กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดีเริ่มที่ครอบครัว ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4117-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัยนี สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ ไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 16,600.00
รวมงบประมาณ 16,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
30.00
2 จำนวนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการ - พัฒนาการในเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี เป็นช่วงที่มีอัตราของการพัฒนาสูงด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก รวมถึง อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ต้องมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญให้มากจึงจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพจาการติดตามประเมินโภชนาการและพัฒนาการ ในพื้นที่ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ได้แก่ ม.2 ม.7 ม.8 และ ม.11 ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส นั้น พบว่า เด็กในช่วงอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ และพัฒนาการสมวัยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีภาวะเตี้ยไม่เกินร้อยละ 10 และภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 จากการสำรวจภาวะโภชนาการ 3 ปีย้อนหลัง ดังนี้

ปี พ.ศ จำนวนเด็ก ทั้งหมด(คน) ได้รัการคัดกรองภาวะโภชนาการ
คิดเป็นร้อยละ มีภาวะเตี้ย (ร้อยละ) มีภาวะผอม (ร้อยละ) 2560 681 664 97.52 14.25 6.95 2561 736 510 69.26 15.14 5.83 2562 641 630 98.28 15.45 7.38

จากตารางพบว่า เด็กในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส มีแนวโน้มของภาวะทุพโภชนาการที่สูงขึ้น ซึ่งภาวะโภชนาการไม่ดี มีผลต่อการพัฒนาด้าน สติปัญญาและพัฒนาการของเด็ก จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของการดูแลโภชนาการและไม่มีความรู้ในการปรับอาหารให้เหมาะกับภาวะสุขภาพของบุตรหลาน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทำให้ผู้ปกครองสนใจแต่เรื่องประกอบอาชีพ หารายได้มากกว่า ยิ่งทำให้เด็กเล็กได้รับการดูแลด้านโภชนาการได้น้อยลงไปอีก ถึงแม้อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่จะคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการทุกๆ 3 เดือนในเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติ และติดตามทุก 1 เดือนในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ตามที่ได้วางแผนไว้กับทีมสุขภาพก็พบว่าอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถคัดกรองได้ครอบคลุมในช่วงเวลาจำกัดจากการสอบถามผู้ปกครองพบว่าอาหารมื้อเช้า มีเพียงร้อยละ 20 ที่ผู้ปกครองทำกับข้าวเอง อีกร้อยละ 80ซื้อกินที่ร้านอาหาร ซึงมักเป็น ขนมขบเคี้ยว ไส้กรอก ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยและมีผงชูรสมาก ส่งผลให้เด็กมีภาวะทุพโภชนาการได้ง่าย จะเห็นว่าผู้ปกครองพาเด็กมาตรวจตามนัดเพียง ร้อยละ 27 ซึ่งค่อนข้องน้อยมาก ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการ ในเด็กมีผลลัพธ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานจากปัญหาดังกล่าวผู้รับผิดชอบงานเด็กปฐมวัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส จึงเห็นว่าการพัฒนาความรู้ให้แก่ทีมสุขภาพในพื้นที่และจัดหาเครื่องชั่งน้ำหนักให้เพียงพอ ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักเสริมธาตุเหล็กในครัวเรือนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นให้ผู้ปกครองหันมาสนใจบุตรหลานด้านโภชนาการมากขึ้นจะเป็นการปูพื้นฐานและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองสามารนำไปส่งเสริมให้บุตรมีภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่มีความรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการและสามารถปรับเมนูอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และเหมาะสมตามวัย

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่มีความรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการและสามารถปรับเมนูอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และเหมาะสมตามวัย(ร้อยละ)

70.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถใช้คู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่ในการบันทึกภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถใช้คู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่ในการบันทึกภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง (ร้อยละ)

60.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองปลูกผักเสริมธาตุเหล็กในครัวเรือนโดยใช้วัสดุที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์

ผู้ปกครองปลูกผักเสริมธาตุเหล็กในครัวเรือนโดยใช้วัสดุที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์ (ร้อยละ)

60.00
4 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

30.00 50.00
5 เพิ่มการใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch

2.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่มีความรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการและสามารถปรับเมนูอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และเหมาะสมตามวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถใช้คู่มือสมุดบันทึกสุขภาพแม่ในการบันทึกภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้ปกครองปลูกผักเสริมธาตุเหล็กในครัวเรือนโดยใช้วัสดุที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพิ่มการใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

23 ธ.ค. 62 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ 70.00 16,600.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชาสัมพันธ์โครงการ
2.แลกเปลี่ยนเรียนรุ้ด้านโภชนาการและพัฒนาการ ตามคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพเล่มสีชมพูและคู่มือตรวจพัฒนาการ(DSPM/DAIM) พร้อมทำแบบประเมินความรู้ก่อนและหลังอบรม
3.รณรงค์ให้ความรู้ด้านการปลูกผักเสริมธาตุเหล็กจากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน
4.คัดเลือกผู้ปกครอง จิตอาสา เพื่อเป็นต้นแบบด้านการดูแลด้านโภชนาการในหมู่ละ 1 คู่
5.ติดตามประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบทุกๆ 3 เดือน และติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุก 1 เดือน
6.ติดตามดำเนินการปลูกผักเสริมธาตุเหล็กจากวัสดุเหลือใช้ในชุมชนหลังจัดประชุม
7.ประเมินผลกิจกรรมตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประเมินภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตามคู่มือสมุดบันทึกสุขภาพเล่มสีชมพูได้
2.ผู้ปกครองเด็กสามารถนำควารู้การปลูกผักเสริมธาตุเหล็กจากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ไปปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
3.ผู้ปกครองเด็กสามารถคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ตามคู่มือตรวจพัฒนาการ DSPM/DAIM

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2562 10:03 น.