โครงการสานชุมชน รวมพลเครือข่าย เพื่อเด็กอ่าวตงฟันดี
ชื่อโครงการ | โครงการสานชุมชน รวมพลเครือข่าย เพื่อเด็กอ่าวตงฟันดี |
รหัสโครงการ | 63-L1520-01-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.อ่าวตง |
วันที่อนุมัติ | 9 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 ธันวาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 34,553.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวลัย ลิ่มโอภาสมณี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.862,99.365place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ธ.ค. 2562 | 31 ส.ค. 2563 | 34,553.00 | |||
รวมงบประมาณ | 34,553.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสู่ลูกได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมมีปัจจัยทีเกี่ยวข้องสอดคล้องกับฟันแท้ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะเป็นฟันผุที่เกิดกับเด็กในช่วงอายุน้อย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลายด้าน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมได้แก่ อาหาร จุลินทรีย์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ซึ่งมารดามีบทบาทสำคัญต่อภูมิคุ้มกันของลูก ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่นใจในตนเอง และอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วย นอกจากนี้พบว่า เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ โอกาสที่ฟันแท้จะผุมีมากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุ สาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนใหญ่ในเด็กก่อนวัยเรียน เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การทาความสะอาดช่องปาก ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศนคติกับการตระหนักถึงสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพช่องปากของพ่อแม่
แนวทางที่เหมาะสมสาหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ เด็กก่อนวัยเรียนยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดู ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก จึงเหมาะแก่การปลูกฝังและส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพอย่างจริงจัง
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก รวมทั้งคนในชุมชนให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตง ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างแกนนำด้านทันตสุขภาพขึ้นในชุมชน เพื่อเป็นหน่วยคัดกรองเด็กที่มีฟันผุ ส่งต่อเด็กที่ต้องได้รับการรักษา และเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กให้หันมาดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพด้านทันตสุขภาพ จำนวน 94 คน แกนนำด้านทันตสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพ (Pretest/Posttest)มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เด็ก 6 เดือน-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกราย เด็ก 6 เดือน-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกราย ร้อยละ 100 |
0.00 | |
3 | เด็ก 6 เดือน-3 ปี ที่มีฟันน้ำนมขึ้นได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ เด็ก 6 เดือน-3 ปี ที่มีฟันน้ำนมขึ้นได้รับการการเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ร้อยละ 90 |
0.00 | |
4 | ผู้ปกครองเด็ก 6 เดือน-3 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้ปกครองเด็ก 6 เดือน-3 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 |
0.00 | |
5 | แกนนำด้านทันตสุขภาพได้เยี่ยมบ้านเด็ก 6 เดือน-3 ปี ปีละ 2 ครั้ง แกนนำด้านทันตสุขภาพได้เยี่ยมบ้านเด็ก6 เดือน-3 ปี ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 100 |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.อ่าวตง
- จัดทำทะเบียนเด็ก 6เดือน - 3 ปี แยกรายหมู่บ้าน
- จัดทำโครงการ เสนอผู้มีอำนาจลงนาม
- ประชาสัมพันธ์โครงการ “สานชุมชน รวมพลเครือข่าย เพื่อเด็กอ่าวตงฟันดี”
- จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่แกนนำทันตสุขภาพ จำนวน 94 คน - อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก - โรคในช่องปาก - ฝึกการตรวจสุขภาพช่องปาก
- จัดกิจกรรมในหมู่บ้าน (แยกทำทีละหมู่บ้าน)
- ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 6เดือน - 3 ปี
- ทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุแก่เด็ก 6เดือน - 3 ปี
- ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก 6เดือน - 3 ปี แก่ผู้ปกครอง / ผู้ดูแลเด็ก พร้อมฝึกการแปรงฟันให้แก่เด็ก และผู้ปกครอง
- ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กที่มีฟันผุต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน (คลินิกทันตกรรม รพ.สต.อ่าวตง)
- แกนนำด้านทันตสุขภาพ ร่วมกับทันตบุคลากรออกให้บริการเยี่ยมบ้านและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน - 3 ปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 8.ประเมินผลโครงการ ดังนี้ 8.๑. ระดับความรู้ของแกนนำด้านทันตสุขภาพเพิ่มมากขึ้นหลังจากการอบรม 8.2. เด็ก 6 เดือน -3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกราย 8.3. เด็ก 6 เดือน - 3 ปี ที่มีฟันน้ำนมขึ้นได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุทุกราย 8.4. ผู้ปกครองเด็ก 6 เดือน - 3 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากบุตรหลาน
- รายงานผลการดำเนินงานแก่เจ้าของงบประมาณ /สรุปผลงาน
- วิเคราะห์/ประเมินผลการดำเนินงาน
1.ร้อยละ 80 ของแกนนำด้านทันตสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพ
2.ร้อยละ 100 ของเด็ก 6 เดือน - 3 ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกราย
3.ร้อยละ 100 ของเด็ก 6 เดือน - 3 ปีที่มีฟันน้ำนมขึ้นได้รับการการเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุทุกราย
4.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็ก 6 เดือน - 3 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
5.ร้อยละ 100 ของแกนนำด้านทันตสุขภาพได้เยี่ยมบ้านเด็ก6 เดือน -3 ปี ปีละ 2 ครั้ง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2562 10:16 น.