กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยับกาย สบายชีวี เพื่อสุขภาพที่ดี ด้วยโยคะ รุ่นที่ 2 ประจำปี2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักษ์สุขภาพ เทศบาลตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,821.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางกษิณา ศรประสิทธิ์ 2.นางทรัพย์ อินทะวงษ์ 3.นางเตือนใจ เพ็ชรเสน 4.นางสมคิด ศรีทวี 5.นางดาเรศ โพธิ์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 30,821.00
รวมงบประมาณ 30,821.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งแก้ไขปัญหาการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยจาก ๕ โรคสำคัญที่เรียกว่า  โรคไม่ติดต่อ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ    โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง แม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบประกันสุขภาพที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลกก็ตาม  แต่ที่ผ่านมาจะรองรับการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเป็นส่วนใหญ่ จากสถิติในปี ๒๕๕๓ ทั้ง ๕ โรคมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัว  ในโรงพยาบาล ๒ ล้านกว่าราย เสียชีวิตรวม ๑ แสนกว่าราย หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุทั่ว ประเทศที่มีประมาณ ๔ แสนราย สาเหตุการป่วยเกี่ยวข้องกับ ๒ ปัจจัย คือการขาดการออกกำลังกาย และเรื่องการ บริโภคอาหาร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะเน้นหนักให้ทุกจังหวัดเร่งแก้ไขและป้องกันการเจ็บป่วย ด้วย ๒ กิจกรรมหลัก สอดรับกับการบริหารหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชน มีสุขภาพแข็งแรง ประการ แรกคือการกระตุ้นให้คนไทยออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในคนไทยอายุ ตั้งแต่ ๑๑ ปี ขึ้นไปที่มี ๕๗.๗ ล้านคน ในปี ๒๕๕๔  โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบประชาชน ๔๒.๖ ล้านคนไม่ออกกำลังกาย มีผู้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเพียง ๑๕.๑ ล้านคน หรือประมาณ ๑ ใน ๔ ของประชาชนทั้งหมด และ รอบ ๑ เดือนก่อนสำรวจ จำนวน ๑๗.๑ ล้านคน เป็นผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากถึงร้อยละ ๗๓ ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มี ๓.๒ ล้านคน พบว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากถึงร้อยละ ๗๖ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างชัดเจนว่า การไม่ออกกำลังกายทำให้มีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ออกำลังกายถึง ๓ เท่า  กรมอนามัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนตามนโยบายและแนวทางการ ดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวข้างต้น และส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มี เวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอไปจากการทำงาน และขณะปฏิบัติงานจะต้องออกแรงซ้ำๆ กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณที่ใช้งาน กล้ามเนื้อจะล้าและลดประสิทธิภาพลงเรื่อย ๆ และถ้าเกิน ๓ ชั่วโมงติดต่อกัน ข้อต่อ กระดูกและเส้นเอ็นจะเกิดการยึดติดส่งผลให้มีแคลเซียมยึดเกาะในข้อต่อ ดังนั้น หากอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ เช่น บริเวณขมับ คอ ไหล่ หลัง ศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว สะโพก เอว น่อง ข้อเท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง การออกกำลังกายสำหรับวัย ทำงานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมตามเวลาและสถานที่ อาทิ การฝึกกายบริหารแบบง่ายๆ เช่น การยก แขนขึ้นลง การบิดลำตัว โยคะ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันโยคะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โยคะ คือ ศาสตร์ในการดูแลจิตให้ปกติในร่างกายที่สมบูรณ์  ปัจจุบันมีการนำโยคะไปบำบัดบรรเทาโรค โยคะบำบัดได้ขยายขอบเขตไปยังการป้องกัน การสร้างเสริม การรักษาและการฟื้นฟู  ซึ่งพบว่า โยคะมี ประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโรคเรื้อรังบางโรค
    จากการที่ชมรมคนรักษ์สุขภาพ ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โยคะเพื่อสุขภาพ รุ่นที่ 1 พบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และเกิดประโยชน์ต่อการมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ก่อให้เกิดความแข็งแรง มุ่งมั่น อดทน บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ชมรมคนรักษ์สุขภาพ เทศบาลตำบลพะตงจึงได้จัดทำโครงการขยับกายสบายชีวี ด้วยโยคะ รุ่นที่ 2 ประจำปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติโยคะได้

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารปฏิบัติโยคะได้ร้อยละ80

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถฝึกปฏิบัติโยคะ โยคะปราณยามะ โยคะอาสนะ โยคะเพื่อบำบัดโรค ได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติโยคะถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 ธ.ค. 62 0 0.00 -
1 ม.ค. 63 อบรมความรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับโยคะ 31 7,221.00 -
1 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมภาคปฏิบัติ 30 23,400.00 -
31 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินงาน 0 200.00 -
รวม 61 30,821.00 0 0.00

1.จัดประชุมคณะกรรมการชมรมคนรักษ์สุขภาพเพื่อ ชี้แจง กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ รุ่นที่2 2.เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลพะตง 3.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วยโยคะที่ถูกวิธี
4.จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดอบรม 5.ดำเนินการตามโครงการขยับกาย สบายชีวี ด้วยโยคะ   5.1 บรรยายความรู้ จำนวน 1 วัน   - บรรยายความรู้เรื่อง ทฤษฎีโยคะ ร่างกายและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการฝึกโยคะ 1.5 ชม.   - บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง โยคะปราณยามะ 1.5 ชม.   - บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง โยคะอาสนะ 14 ท่าพื้นฐาน และการปรับวิธีดูแลสุขภาพแบบโยคะ 1.5 ชม.   - บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง โยคะเพื่อบำบัดโรค 1.5 ชม.   5.2 ออกกำลังกายด้วยโยคะ ครั้งละ 1 ชม. ในวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี
  5.3 คัดกรองภาวะสุขภาพวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาเกี่ยวกับการบริหารกายแบบโยคะได้และดูแลตนองได้อย่างถูกวิธี
  2. สามารถฝึกปฏิบัติโยคะ โยคะปราณยามะ โยคะอาสนะ โยคะเพื่อบำบัดโรค
  3. มีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย จิต จิตวิญญาณและสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2562 14:45 น.