กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5225-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโสภณ ขวัญชื่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมรการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงคุณค่าทางโภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการคัดกรอง ปี 2562 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 397 คนเสี่ยงสูง 49 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 145 คน เสี่ยงสูง 10 คนโดยผู้ป่วยที่ถูกส่งกลับไปยังโรงพยาบาลระโนด เนื่องจากคุมน้ำตาลไม่ได้จำนวน 4 ราย นอกจากนี้ จากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนี้ ทาง รพ.สต.เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชในกลุ่มดังกล่าว จึ่งได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสียงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่อง 3อ. 2ส.และสามารถนำความรู้ไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ  100  ของจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้  เรื่อง 3อ. 2ส.

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) ของ รพ.สต.และเข้าร่วมกิจกรรมตามนัดเป็นเวลา 3 เดือน

ร้อยละ  50  ของจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมกิจกรรมคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC)  ของรพ.สต.

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสียงต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มปกติ และไม่เป็นกลุ่มป่วย

ร้อยละ  100  ของกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรม  ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 25,720.00 0 0.00 25,720.00
1 - 31 มี.ค. 63 จัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่อง 3อ. 2ส. 80 22,420.00 - -
1 เม.ย. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก (DPAC) 80 1,800.00 - -
1 - 31 ก.ค. 63 ดำเนินการคัดเลือกบุคคลต้นแบบ 80 1,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 240 25,720.00 0 0.00 25,720.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังยาง และแกนนำสุขภาพเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
  2. เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
  3. เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจึงดำเนินการจัดกิจกรรมดังนี้ 3.1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 3.2 กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เข้าร่วมคลินิก DPAC ของ รพ.สต. 3.3 ติดตามผลกลุ่มเสี่ยง 1เดือน 3 เดือน และมอบเกียรติบัตรแก่บุคคลต้นแบบ
  4. สรุปประเมินผลกิจกรรมและรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่่มเสี่ยง มีความรู้เรื่อง 3 อ. 2ส. และสามารถนำความรู้ไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมคลินิก DPAC ของ รพ.สต. และเข้าร่วมกิจกรรมตามนัดเป็นเวลา 3 เดือน
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2562 09:55 น.