กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพ่อแม่รักหนูพร้อมใจฉีดวัคซีน
รหัสโครงการ 63-ศ3016-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2020 - 9 เมษายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2020
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคคอตีบ เป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สามารถคร่าชีวิตเด็กๆ ในอัตราที่สูงมาก อาการของโรคคอตีบ ไข้เจ็บคอ แผ่นฝ้าขาว คอบวม อาการทั่วไปคล้ายโรคไข้หวัด ถ้าหากผู้ป่วยไม่เคยฉัดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ อาการของโรคจะรุนแรงถึงเสียชีวิตโดยฉับพลันภายใน 3 วัน การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะเป็นแผ่นฝ้าขาว คอบวม ปิดกั้นทางเดินหายใจที่จะนำสู่การเสียชีวิตโดยฉับพลันเนื่องจากขาดลมหายใจของเด็กๆได้ สถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วย 74 ราย เสียชีวิต 18 ราย ส่วนอำเภอเมืองปัตตานี มีผู้ป่วย 7 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั้งหมดไม่มีประวัติรับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเลยการระบาดมีต่อเนื่องเรื่อยมา หลักการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (immunization) หมายถึง การทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันหรือคาวมต้านทายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหรือทำให้ความรุนแรงน้อยลง ซึ่งวัคซีนนี้ได้มาจากเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งจะอยู่ได้นานเป็นปีๆ หรืออาจอยู่ได้ตลอดไป การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นหน้าที่ของเม็ดเลือดขาว จะสร้าง antibody ซึ่งอยู่กระแสเลือด มีคุณสมับติในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคครั้งต่อไป และจะกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวที่จะมีคุณสมบัติในการทำงายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคโดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยหายจากโรค การให้วัคซันส่วนใหญ่ต้องให้หลายครั้ง เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นและอยู่ได้นานพอที่จะป้องกันได้ในระยะยาวมีความทรงจำ (memory) ตามระบบของการให้วัคซีนในประเทศไทยเด็กอายุ 0-5 ปี จำเป็นต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนกระตุ้น จำนวน 9 ครั้ง จึงจะครบสมบูรณ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรควัณโรค โรคตับอักเสบบี โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้น หลังการฉีดวัคซีนเด็กจะมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน ถ้าไม่มีความเข้าใจในการดูแลอย่างถูกต้อง เด็กจะมีอาการป่วยอย่างอื่นเข้ามาแทรก เช่น ไข้สูงจนชัก ปอดบวม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่บางส่วนไม่ยินยอมฉีดวัคซีนแก่ลูก ทำให้การปฏิบัติงานของ รพสต.ปะกาฮะรัง ไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดร้อยละ 90 ได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน จึงได้จัดทำโครงการพ่อแม่รักหนู พร้อมใจฉีดวัคซีน เพื่อนสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่พ่อแม่และรณรงค์ฉีดวัคซีนเด็ฏอายุ 0-5 ปี ที่ผู้ปกครองไม่ยอมฉีดวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนและผลกระทบ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

0.00
2 รณรงค์ฉีดวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ผู้ปกครองไม่ยอมให้ฉีดวัคซีน

ร้อยละ 40 ของผู้ปกครองเห็นความสำคัญและยินยอมให้ฉีดวัคซีน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ให้ความรู้เรื่องการจัดการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนและผลกระทบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
9 เม.ย. 63 จัดประกวดเด็กหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ 0 0.00 -
  1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาการไม่ยินยอมฉีดวัคซีนในพื้นที่ตำบลปะกาฮะรัง
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอมขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง
  3. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์
  4. จัดอบรมและจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการ
  5. ติดตาม/ประเมินผล พร้อมสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สอบถามและพูดคุย ความเข้าใจและทัศนคติ ของกลุ่มเป้าหมายหลังการอบรม 2.สังเกตปฏิกิริยาและการตอบสนอง 3.ประเมินการให้ความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมายแบ่งประเภทโดยการแยกสี ดังนี้ สีเขียว หมายถึง ผู้ที่ให้ความร่วมมือ อยู่ในเกณฑ์ดีและดีเยี่ยม สีเหลือง หมายถึง ผู้ที่ให้ความร่วมมือ เมื่อถูกกระตุ้น เมื่อไม่กระตุ้นจะไม่ร่วมมือ สีแดง หมายถึง ผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมมือ และต่อต้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2019 11:33 น.