กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันไข้เลือดออกหมู่ 7 บ้านนาข่าใต้
รหัสโครงการ 63-l5310-2-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม)บ้านนาข่าใต้
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กุมภาพันธ์ 2563 - 28 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 18 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซีตีลานี ยาประจัน
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะกล้า
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 25,550.00
รวมงบประมาณ 25,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ในปี 2562 อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านนาข่าใต้ได้มีการลงพื้นที่สำรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านได้พบว่าภายในหมู่บ้านมี ขยะมูลฝอยหรือเศษอาหาร กระดาษ โฟม ถุงพลาสติก ขวด แก้ว โลหะ กะลามะพร้าว ท่อปูนซิเมนต์ที่มีน้ำขังและชำรุด แท้งน้ำที่ไม่ใช้และชำรุด โอ่งน้ำขังยางรถยนต์ มีน้ำขังและมีลูกยุงลายซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายใน ปี 2562 จึงมีคนไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย ซื่งเป็นปัญหาซ้ำซากของทุกปีและเป็นโรคไวรัสที่ไม่มีวัคซีนที่จะป้องกันได้ อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านนาข่าใต้มีแนวคิดในการจัดการที่จะทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายโดยให้ความรู้กับประชาชนในการขัดแยกขยะในครัวเรือนรวมทั้งชุมชนและให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออกเพื่อให้มีผู้ป่วยบ้านนาข่าใต้ลดลงและหาวิธีการป้องกันยุงลายโดย นำสมุนไพรในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงเพื่อป้องกันและลดการใช้สารเคมีจากสารกันยุงของผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดโดยให้วิทยกรมาให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้านทั้งวิธีการผลิตและการนำเชไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นการป้องกันอย่างยั้งยืนนอกจากนี้อาสาสมัครหมู่7 ได้มีการจัดการเรื่องขยะโดยกำหนดแหล่งที่ตั้งถังขยะเป็นจุดหน้ามัสยิดนูรุลมูบีนเพื่อเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กนูรุลมูบีนและโรงเรียนตาดีกาได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านนาข่าใต้จึงจัดทำโครงการ การจัดการขยะและผลิตภัณฑ์สมุนไพรป้องกันยุงลายโดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาขาว ทั้งนี้เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่ครัวเรือนและประชาชนชาวบ้านนาข่าใต้ ในการร่วมกันรักษาความสะอาด คัดแยกและกำจัดขยะและภาชนะได้ถูกต้อง สามารถนำขยะและภาชนะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยการลดประมาณขยะและสร้างนิสัยในการรักความสะอาดของครัวเรือนและชุมชน ส่งผลให้ชุมชนน่าอยู่ ปราศจากสัตว์นำโรคไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายลดผู้ป่วยไข้เลือดออก ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและแหล่งนำโรคจากการจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ร้อยละ 80 ประชาชนบ้านนาข่าใต้ลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะ

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงตามท้องตลาด และเห็นความสำคัญของการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาทำผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงลายใช้เองในครัวเรือน

ตัวแทนครัวเรือนหมู่ที่ 7 ร้อยละ 80 มีความรู้สามารถนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงใช้เองได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 118 25,550.00 3 25,550.00
4 ส.ค. 63 ประชุมชี้แจงวางแผนกิจกรรม อสม. ผู้นำชุมชนและผู้นำโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการจัดการขยะและภาชนะแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายป้องกันไข้เลือดออกหมู่7บ้านนาข่าใต้ 18 450.00 450.00
18 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้แก่ครัวเรือนในชุมชนในการจัดแยกขยะ และวัสดุเหลือใช้ 50 15,050.00 15,050.00
19 ส.ค. 63 จัดอบรมทำสมุนไพรไล่ยุง 50 10,050.00 10,050.00

ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.สำรวจและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ขั้นดำเนินการ 1.เขียนโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาขาวเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 4.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 5.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ขั้นประเมินผล 1.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน 2.รายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาขาว

ค่าใช้จ่าย

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงวางแผนกิจกรรม อสม. ผู้นำชุมชนและผู้นำโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการจัดการขยะและภาชนะแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายป้องกันไข้เลือดออกหมู่ 7 บ้านนาข่าใต้

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุมชี้แจงคณะทำงาน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 18 คน เป็นเงิน 450 บาท

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ครัวเรือนในชุมชนในการจัดแยกขยะ และวัสดุเหลือใช้

  1. ถังขยะ ขนาด 120 ลิตร ถังละ 1,000 บาท จำนวน 4 ถัง เป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ถุงดำขนาด 36*45 แพคละ 100 บาท 10 แพค เป็นเงิน 1,000 บาท.
  3. ค่าป้ายติดที่ถังคัดแยกขยะ 500 บาท
  4. ค่าป้ายโครงการ1ป้าย ราคา 500 บาท
  5. ค่าวิทยากร 1 คนๆละ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  7. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท
  8. วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สมุด ปากกา แฟ้ม จำนวน 50 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมทำสมุนไพรไล่ยุง

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท
  3. ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  4. แอลกอฮอร์ 450 cc 10 ขวด ขวดละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  5. สมุนไพร
    • การบูร 200 บาท
    • ตะใคร้หอม 5 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท
    • กระเพรา 5 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท
    • มะกรูด10 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • ผิวมะกรูดแกะแล้วได้ 5 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  6. ขวดสเปร์ 10 มล. ขวดละ 8 บาท จำนวน 100 ขวด เป็นเงิน 800 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในจัดการขยะและและภาชนะนำมาใช้ซ้ำได้อีก
2.ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายถูกทำลาย 3.จำนวนอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 4.คนในชุมชนสามารถนำสมุนไพรใกล้ตัวในท้องถิ่นมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงเป็นการลดการใช้ผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดที่อาจมีสารเคมีเจือปน


      ลงชื่อ .............................................ผู้เสนอโครงการ

      (................................................)

      ตำแหน่ง .......................................

      วันที่-เดือน-พ.ศ.................................

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2562 14:13 น.