กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลใส่ใจสตรีสุขภาพดีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 60-L4143-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มีนาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนริศรา ตันหยงดายอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรววดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารรณสุขปี พ.ศ.2558 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,2558) พบว่า อัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,2558) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่อจากมะเร็งปากมดลูกที่สามาร๔ตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ Pap smear หรือ VIA (Visual Inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และสามารถรักษาให้หายจาดได้โดยการรักษาตามระบและการจี้เย็น (Cryotherapy) ปีงบประใาณ 2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบปรมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ดำเนินนโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ VIA ในสตรีไทย อายุ 30 - 60 ปี กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมปีงบประมาณ2559 - 2563 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในปี 2559 - 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด ได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม 5 ปี (2559 - 2563) เป้าหมาย 1,662 คน ได้รับการตรวจคัดกรองสะสม 2 ปี (2559 - 2560)134 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ผลการดำเนิน พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้ตรวจคัดกรองจำนวน 285 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.03 ของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 1,423 ราย จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองฯยังทำไม่ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาได้ทัน จึงควรดำเนินการจัดทำโครงการเคาะประตูบ้าน ต้านมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2559 ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีอายุ 30 -60 ปี ที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2560

 

2 2.เพื่อให้สตรีอายุ 30 -60 ปี มีความรู้และทักาพในการตรวจประเมินมะเร็งเต้านม

 

3

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด เพื่อจัดทำโครงการฯ 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตงนอก เพื่ออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 3.ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 4.จัดอบรมให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายโดยในการอบรมแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 4 รุ่นๆละ 50 คน 5.จัดชุดปฏิบัติการ อสม. เคาะประตูบ้านชวนเพื่อนตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสถานบริการ 6.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกและมะเร็งเต้านมและประเมินทักษะการตรวจเต้านมโดย จนท.สาธารณสุขในสถานบริการทุกวันทำการ 7.วิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินงาน 8.ประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ในพื้นที่ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปีที่ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2560 11:19 น.