กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 63-L316-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 ธันวาคม 2562 - 23 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2563
งบประมาณ 29,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุตำบลปะกาฮะรัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพการณ์ในปัจจุบันปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมได้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากสังคมที่สงบที่มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กลับกลายเป็นสังคมที่วุ่นวายแก่งแย่งแข่งขันกัน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่เห็นไเ้ชัดเจนคือ ผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่พ้นจากจากวัยแรงงานจึงมักถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพัง ผู้สูงายุหลายคนขาดความสุขทางใจ เปิดเป็นโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุจะต้องหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเมื่อมีอารมณ์เสร้าเกิดขึ้น ควรพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่พึงพอใจเป็นประโยชน์ เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่น รวมทั้งปัญหาในด้านการดูลแเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจ ผู้สูงอายุในตำบลปะกาฮะรัง ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกาย เช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ โรคข้อเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่าย การเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความเศร้า กังวลใจ น้อยใจ เสียใจ และการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้สูงอายุ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัมนาสังคม เพื่อให้การดำเนิการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุเป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและเกิดการร่วมใจกัน องค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรังจึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง โดยจัดให้มีการประชุมสมาชิกผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ โดยศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการ มีการอบรมบรรยายในด้านการดำรงชีวิต ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยแนะนำให้ผู้สูงอายุได้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายในอันเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุต่อไป ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชมรมผู้สูงอายุตำบลปะกาฮะรัง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุโดยตรงต้องเข้ามาส่วนร่วมในการช่วยเหลือหรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตใจที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนในกลุ่มวัยเดียวกัน สามารถระบายความรู้สึกหรือพูดคุยความต้องการที่แท้จริงของตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลาย มีสุขภาพจิตที่ดีซึ่งนำไปสู่สุขภาพกายที่ดีขึ้น และพร้อมเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนเข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุตำบลปะกาฮะรัง ประจำปี 2563 โดยตามโครงการจะประกอบด้วยกิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ กิจกรรมสาธิตการออกกำัลงกาย กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่เข้มแข็งสามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุหรือสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุตามกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ด้านดูแลสุขภาพที่หลากหลายและได้รู้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุในกลุ่มเดียวกันจนสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาจิตที่ดีขึ้นตามลำดับ

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้มีวคามสัมพันธ์ที่ดีและได้ผ่อนคลายความตึงเครียด มีสุขภาพจิตดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการ ชมรมตำบลปะกาฮะรัง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง
  3. ประสานกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และผู้ที่กำลังจะเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ (59 ปี) ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ ประสานวิทยากร และจัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ
  4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 1 วัน/6 ชั่วโมง ดังนี้ 4.1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก้ ผู้สูงอายุ โดยการบรรยาย เรื่อง "การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ" จำนวน 1.30 ชั่วโมง แยกเป็น
    4.1.1 อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ 4.1.2 การออกกำลังกายที่ถูกต้องสำหรับคนสูงวัย 4.1.3 สาธิต/ฝึกปฏิบัติการอกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ (เฉพาะที่สำคัญ) 4.2 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก้ผู้สูงอายุโดยการบรรยาย เรื่อง "สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ" จำนวน 1.30 ชั่วโมง แยกเป็น 4.2.1 การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด 4.2.2 นันทนาการคลายเครียด 4.2.3 การอยู่ร่วมกันให้ลูกหลานมีความสุข 4.3 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ ผู้สูงอายุ โดยการบรรยาย เรื่อง "พฤฒพลัง สูงวัยอย่างมีพลัง" จำนวน 1.30 ชั่วโมง แยกเป็น 4.3.1 พลังด้านบวกมีผบต่อสุขภาพอย่างไร 4.3.2 การสร้างพลังด้านบวกแก่ผู้สูงวัย รวมถึงเทคนิควิธีการและฝึกปฏิบัติให้มีพลังบวก 4.3.3 การใช้ดนตรีบำบัดสุขภาพ สร้างพลังด้านบวก 4.4 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ ผู้สูงอายุ โดยการบรรยายเรื่อง "การเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ" จำนวน 1.30 ชั่วโมง/วัน 4.4.1 สิ่งที่ต้องเตรีนมพร้อมสู่วัยสูงอายุ "สุขภาพดี มีเงินออม เตรียมพร้อมบ้านปลอดภัย เตรียมกายใจสู่วัยสูงอายุ" 4.4.2 สวัสดิการต่างๆ ที่ผู้สูงอายุยุค 4.0 ต้องรู้ 4.4.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย
  5. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการและประเมินผลโครงการโดยใช้แบบสอบถาม
  6. ติดตามผลการปฏิบัติงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย 2.ผู้สูงอายถเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 3.ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู็ระหว่างผู็สูงอายุในกลุ่มวัยเดียวกันและสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามลำดับ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2562 14:37 น.